ประกาศ

สวัสดีค่ะทุกคน ครูพี่เตยมีเวลามาอัพเดตข้อมูลหน้าเว็บแล้วนะคะ ต่อไปนี้ทุกคนสามารถเยี่ยมชมได้แล้วจ้า #อย่าลืมกดติดตามนะคะ

วันศุกร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

บรรยากาศ Atmosphere


          บรรยากาศ คือก๊าซต่างๆที่ปกคลุมอยู่รอบๆโลก น้ำหนักของบรรยากาศจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิที่ทำให้อากาศลอยสูงขึ้น

องค์ประกอบของบรรยากาศ
บรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกส่วนใหญ่ประกอบด้วย ก๊าซไนโตรเจน 78% ก๊าซออกซิเจน 21% ก๊าซอาร์กอน 0.9% ที่เหลือเป็น ไอน้ำ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และก๊าซอื่น ๆ สิ่งที่มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิของโลกอย่างมากคือก๊าซโมเลกุลใหญ่ เช่น ไอน้ำ อมีเทนคาร์บอนไดออกไซด์ แม้จะมีอยู่ในบรรยากาศเพียงเล็กน้อย แต่มีความสามารถในการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด ทำให้อุณหภูมิของโลกอบอุ่น เราเรียกก๊าซพวกนี้ว่า “ก๊าซเรือนกระจก” (Greenhouse gas)

การแบ่งโครงสร้างของบรรยากาศด้านอุตุนิยมวิทยา ใช้แบ่งชั้นบรรยากาศตามการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ดังนี้

ชั้นบรรยากาศแบ่งเป็น 2 ส่วนใหญ่ ๆ คือ

1. บรรยายกาศชั้นแรก ( Homosphere ) อยู่เหนือพื้นโลกประมาณ 80 กิโลเมตร เป็นชั้นที่บรรยากาศเปลี่ยนแปลงง่าย เมื่อสูงขึ้นไป อุณหภูมิของอากาศจะลดลง ทุกความสูง 1,000 เมตรอุณหภูมิจะลดลง 6.4º C ( 3 ½ º F ต่อความสูง 1,000ฟุต) ในบรรยากาศชั้นนี้แบ่งเป็น

1.1 โทรโฟสเฟียร์ ( Troposphere) มาจากภาษากรีกว่า tropo (การเปลี่ยนแปลง)+ sphere (บริเวณ) สูงจากพื้นโลกประมาณ 8-16 ก.ม.ชั้นที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิจะลดลงตามระดับความสูงอุณหภูมิจะลดลง 6.4º C ( 3 ½ º F ต่อความสูง 1,000ฟุต) ระดับสูงสุดของชั้นนี้เรียก โทรโปพอส เป็นระดับที่อุณหภูมิหยุดลดต่ำลง(ต่ำลงถึง – 65 º F)

1.2 สตารโตสเฟียร์ ( Stratosphere)มาจากภาษาละติน Stratum (การแผ่กระจายปกคลุม) สูง 16- 50 ก.ม. ไม่การหมุนเวียนของอากาศ บรรยากาศจะเคลื่อนที่ตามแนวนอน ไม่มีเมฆ การขับเครื่องบินมักบินในชั้นบรรยากาศนี้ ในระดับความสูง 30 ก.ม.ชั้นนี้มีบริเวณที่ก๊าซโอโซนก่อตัวดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลต ทำให้อุณหภูมิชั้นนี้สูงขึ้นตามความสูง อุณหภูมิจะหยุดเพิ่มที่ระดับชั้น สตราโตพอส



1.3 เมโซสเฟียร์ ( Mesosphere) มาจากคำว่า mesos (ตรงกลาง)อยู่สูง 50-80 ก.ม. ไม่มีไอน้ำ มีแก๊สน้อย มีโอโซนจะมีมากในเขตขั้วโลก และเบาบางแถบศูนย์สูตร อุณหภูมิจะลดลงเมื่อความสูงเพิ่มขึ้นถึงและลดลงถึง –100º C แถบพื้นที่ใกล้ขั้นโลกตอนใกล้สว่างหรือใกล้ค่ำอาจพบเมฆสีหรือเมฆพรายน้ำ(noctillucent cloud)ส่วนบนสุดเรียก เมโสพอส
2. บรรยากาศชั้นบน (Heterosphere) อยู่สูงขึ้นไปจากเมโซพอสเรียกชั้นเทอร์โมสเฟียร์(Thermosphere) มาจากคำว่า thermo (ความร้อน)อยู่สูงตั้งแต่ 80 ก.ม. ขึ้นไป อุณหภูมิจะสูงขึ้นอย่างรวดเร็วและสูงขึ้นเรื่อยๆถึง 1,100º -1,650º C เพราะ รังสีอัลตราไวโอเลตและรังสัเอกซ์จากดวงอาทิตย์จะทำให้โมเลกุลของก๊าซหลายชนิดแยกตัวเป็นอะตอมอิสระ อะตอมของออกซิเจนจะดูดกลืนรังสีอัลตราไวโอเลตเอาไว้ทำให้อุณหภูมิของชั้นนี้สูงขึ้นจนถึงชั้นเอกซ์เฟียร์( Exosphere)


การแบ่งชั้นบรรยากาศ ตามการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ
เอกซ์เฟียร์( Exosphere) มาจากคำว่า exo (ข้างนอก) ส่วนนี้ความหนาแน่นของอากาศเกือบเป็นสูญญากาศ เป็นเขตนอกสุดช่วง 800 – 1,200 กิโลเมตร ดาวเทียมที่โคจรผ่านขั้วในบรรยากาศชั้นนี้




ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น