ทรัพยากรธรรมชาติ หมายถึง สิ่งที่เกิดขึ้นหรือมีอยู่เองตามธรรมชาติ
และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการดำรงชีวิตของมนุษย์ได้ ทรัพยากรธรรมชาติที่สำคัญ
เช่น ดิน น้ำ ป่าไม้ แร่ธาตุ
ชนิดของทรัพยากร
ชนิดของทรัพยากร
1.
ทรัพยากร แร่ธาตุ
2.
ทรัพยากร ดิน
3.
ทรัพยากรป่าไม้
4.
ทรัพยากรน้ำ
การกำเนิดแร่ธาตุ แหล่งแร่ที่มีอยู่ในธรรมชาติ มีกำเนิดขึ้นมาในหลายลักษณะดังนี้
1. เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืด(แมกม่า)
2. เกิดจากของเหลวใต้ผิวโลกเนื่องจากน้ำร้อนเช่น ไอร้อนในสายแร่หรือแหล่งแร่โลหะต่างๆ
1. เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืด(แมกม่า)
2. เกิดจากของเหลวใต้ผิวโลกเนื่องจากน้ำร้อนเช่น ไอร้อนในสายแร่หรือแหล่งแร่โลหะต่างๆ
3. จากไอร้อนที่ระเหิดเป็นแร่
เช่น กำมะถันในบริเวณปล่องภูเขาไฟ
4. เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเพราะไอร้อนเช่นการเปลี่ยนจากแร่เฟลด์สปาเป็นไมกา
5. การแทนที่ หรือการเติมลงไปในช่องว่างในแร่ที่เกิดอยู่ก่อน
6. ในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความดัน แร่บางชนิดที่เกิดอยู่ก่อนจะตกผลึกใหม่
7. การระเหยเป็นไอของสารละลายที่มีน้ำอยู่ด้วยเช่น หินเกลือระเหย
1. เกิดจากการเย็นตัวของแมกม่า เนื่องจากแมกม่าหรือหินหลอมละลายเคลื่อนที่ออกมาเย็นตัวอยู่ภายในหรือนอกผิวโลก ในช่วงที่หินหนืดกำลังแข็งตัวเม็ดแร่ที่ปะปนมากับหินหลอมละลายจะค่อยๆ ตกตะกอนอย่างช้าๆ แร่ธาตุแต่ละชนิดมีน้ำหนักอะตอมที่ไม่เท่ากันจึงทำให้แร่ชนิดนั้นๆตกตะกอน รวมกันเป็นกระจุก ในบางครั้งช่วงที่หินหนืดเริ่มเย็นตัว ความชื้นในหินหนืดจะถูกผลักดันให้ระเหยออกไปทำให้แร่ธาตุที่ปะปนมากับมวลหินหนืดเริ่มตกผลึกขึ้นและแทรกซอนอยู่ในชั้นหินในรูปของสายแร่ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันออกไป เช่น สินแร่เพ็กมาไตต์ ประกอบด้วยแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด เช่น แร่เขี้ยวหนุมาน แร่ฟันม้า ไมก้า โคลัมเมี่ยม และแทนทาลัมแทรกตัวอยู่ในชั้นหิน
2. เกิดจากการละลายน้ำร้อนหรือแก๊สร้อน น้ำที่มีอุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิปกติของน้ำจะสามารถละลายแร่ธาตุได้หลายชนิด แร่ธาตุที่ละลายได้จะปะปนมากับน้ำร้อนนั้น ด้วยความดันภายใต้เปลือกโลกทำให้น้ำร้อนที่มีแร่ธาตุละลายอยู่ไหลซึมแพร่กระจายออกมาตามรอยแตกหรือช่องว่างระหว่างหินหรือชั้นหิน หลังจากน้ำระเหยออกไปหมดแล้ว สินแร่เหล่านั้นจะแข็งตัวอยู่ในชั้นหินและกลายเป็น "สายแร่" หรือ "ทางแร่" ต่อไป เช่น สินแร่ทองแดง
3. เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำร้อน แรงดันภายใต้ผิวโลกสามารถผลักดันให้มวลของหินหนืดหรือน้ำที่ร้อนที่มีอยู่ในเปลือกโลกออกมานอกผิวโลก ก๊าซหรือแร่ธาตุที่ละลายอยู่เดิมจะออกมาด้วย เมื่อไอของน้ำร้อนระเหยออกไปจะเหลือส่วนของแร่ธาตุบางชนิดไว้ เช่น การเกิดแร่กำมะถันใกล้ปล่องภูเขาไฟ
4. เกิดจากการทำปฏิกิริยาเคมีของแร่ที่มีอยู่เดิม แหล่งแร่ชนิดนี้อาจเกิดจากการเย็นตัวลงของแมกม่า หรือเกิดจากสารละลายน้ำร้อนก็ตามเมื่อเย็นตัวลงกลายเป็นแหล่งแร่ นานเข้าเมื่อน้ำฝนที่ตกลงมาซึ่งมีสภาพเป็นกรดอ่อนได้ไหลซึมลงไปใต้ดินเกิดกระบวนการ "ออกซิเดชั่น" หรือปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนขึ้นในชั้นหินที่อยู่รอยต่อระหว่างระดับน้ำบาดาล และชั้นอากาศที่แทรกอยู่ในหินทำให้แร่เดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นสินแร่ออกไซด์ขึ้น ในบริเวณที่ใต้ผิวโลกมีการผุพังทางเคมีของชั้นหิน แร่ดั้งเดิมก็จะเลื่อนตัวลงสู่บริเวณชั้นล่างของมวลหิน ซึ่งแร่พวกนี้เป็นแร่ที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ เช่น แร่เงิน ทองคำ ตะกั่วที่แทรกซอนกระจัดกระจายอยู่ในชั้นหิน แร่โมไนต์ผุพังมาจากแร่ที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ
4. เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีเพราะไอร้อนเช่นการเปลี่ยนจากแร่เฟลด์สปาเป็นไมกา
5. การแทนที่ หรือการเติมลงไปในช่องว่างในแร่ที่เกิดอยู่ก่อน
6. ในสภาวะที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิและความดัน แร่บางชนิดที่เกิดอยู่ก่อนจะตกผลึกใหม่
7. การระเหยเป็นไอของสารละลายที่มีน้ำอยู่ด้วยเช่น หินเกลือระเหย
1. เกิดจากการเย็นตัวของแมกม่า เนื่องจากแมกม่าหรือหินหลอมละลายเคลื่อนที่ออกมาเย็นตัวอยู่ภายในหรือนอกผิวโลก ในช่วงที่หินหนืดกำลังแข็งตัวเม็ดแร่ที่ปะปนมากับหินหลอมละลายจะค่อยๆ ตกตะกอนอย่างช้าๆ แร่ธาตุแต่ละชนิดมีน้ำหนักอะตอมที่ไม่เท่ากันจึงทำให้แร่ชนิดนั้นๆตกตะกอน รวมกันเป็นกระจุก ในบางครั้งช่วงที่หินหนืดเริ่มเย็นตัว ความชื้นในหินหนืดจะถูกผลักดันให้ระเหยออกไปทำให้แร่ธาตุที่ปะปนมากับมวลหินหนืดเริ่มตกผลึกขึ้นและแทรกซอนอยู่ในชั้นหินในรูปของสายแร่ซึ่งมีรูปร่างแตกต่างกันออกไป เช่น สินแร่เพ็กมาไตต์ ประกอบด้วยแร่ธาตุสำคัญหลายชนิด เช่น แร่เขี้ยวหนุมาน แร่ฟันม้า ไมก้า โคลัมเมี่ยม และแทนทาลัมแทรกตัวอยู่ในชั้นหิน
2. เกิดจากการละลายน้ำร้อนหรือแก๊สร้อน น้ำที่มีอุณหภูมิที่สูงกว่าอุณหภูมิปกติของน้ำจะสามารถละลายแร่ธาตุได้หลายชนิด แร่ธาตุที่ละลายได้จะปะปนมากับน้ำร้อนนั้น ด้วยความดันภายใต้เปลือกโลกทำให้น้ำร้อนที่มีแร่ธาตุละลายอยู่ไหลซึมแพร่กระจายออกมาตามรอยแตกหรือช่องว่างระหว่างหินหรือชั้นหิน หลังจากน้ำระเหยออกไปหมดแล้ว สินแร่เหล่านั้นจะแข็งตัวอยู่ในชั้นหินและกลายเป็น "สายแร่" หรือ "ทางแร่" ต่อไป เช่น สินแร่ทองแดง
3. เกิดจากการควบแน่นของไอน้ำร้อน แรงดันภายใต้ผิวโลกสามารถผลักดันให้มวลของหินหนืดหรือน้ำที่ร้อนที่มีอยู่ในเปลือกโลกออกมานอกผิวโลก ก๊าซหรือแร่ธาตุที่ละลายอยู่เดิมจะออกมาด้วย เมื่อไอของน้ำร้อนระเหยออกไปจะเหลือส่วนของแร่ธาตุบางชนิดไว้ เช่น การเกิดแร่กำมะถันใกล้ปล่องภูเขาไฟ
4. เกิดจากการทำปฏิกิริยาเคมีของแร่ที่มีอยู่เดิม แหล่งแร่ชนิดนี้อาจเกิดจากการเย็นตัวลงของแมกม่า หรือเกิดจากสารละลายน้ำร้อนก็ตามเมื่อเย็นตัวลงกลายเป็นแหล่งแร่ นานเข้าเมื่อน้ำฝนที่ตกลงมาซึ่งมีสภาพเป็นกรดอ่อนได้ไหลซึมลงไปใต้ดินเกิดกระบวนการ "ออกซิเดชั่น" หรือปฏิกิริยาการเติมออกซิเจนขึ้นในชั้นหินที่อยู่รอยต่อระหว่างระดับน้ำบาดาล และชั้นอากาศที่แทรกอยู่ในหินทำให้แร่เดิมเกิดการเปลี่ยนแปลงเกิดเป็นสินแร่ออกไซด์ขึ้น ในบริเวณที่ใต้ผิวโลกมีการผุพังทางเคมีของชั้นหิน แร่ดั้งเดิมก็จะเลื่อนตัวลงสู่บริเวณชั้นล่างของมวลหิน ซึ่งแร่พวกนี้เป็นแร่ที่ไม่สามารถละลายน้ำได้ เช่น แร่เงิน ทองคำ ตะกั่วที่แทรกซอนกระจัดกระจายอยู่ในชั้นหิน แร่โมไนต์ผุพังมาจากแร่ที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบ
การใช้ประโยชน์จากแร่ธาตุ
1. ทางด้านอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่แร่อโลหะนำมาใช้ประโยชน์ได้โดยตรงไม่ต้องผ่านการถลุงแต่ผ่านขั้นตอนการแต่งแร่
บด คัดขนาด แยกมลทินเช่น
แร่ดินขาว แร่เฟลด์สปา แร่เกลือหิน
แร่อุตสาหกรรมก่อสร้างและปูนซีเมนต์ เช่นแร่ยิปซัม กลุ่มแร่เซรามิกและแก้วมีพวกดินขาว เฟลด์สปาร์ ควอตซ์ แร่ดิกไคต์ แร่อุตสาหกรรมปุ๋ย
อุตสาหกรรมเคมีใช้แร่เกลือหินเกิดร่วมกับแร่โพแทชเป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการผลิตโซดาแอช
โซดาไฟ สารปรุงรส ทำสีทาบ้าน
แร่ฟลูออไรต์ใช้ในการถลุงแร่เหล็ก แร่แบไรต์ทำโคลนสำหรับการเจาะสำรวจ ยังมีแร่โลหะอื่นๆ
2. ทางด้านเกษตรกรรม
ปุ๋ย มีแร่โพแทช ไนโตรเจนจากการแยกก๊าซธรรมชาติ
ในชีวิตประจำวันทั่วไป เช่นแร่กับความงาม เครื่องสำอางจากแร่ทัลก์
ดินขาว ไมก้า เกลือขัดผิว กระจกทำจากทรายแก้ว เกลือปรุงรส
ยิปซัมใส่ในส่วนผสมทำเต้าหู้แร่ทองคำกับความงาม แร่รัตนชาติใช้ทำเครื่องประดับ แร่ควอตซ์ใส่เป็นส่วนประกอบของนาฬิกา แร่กำมะถันในผสมเ)นยาฆ่าแมลง ฟูลออดรท์ทำสารเคลือบฟัน ฯลฯ 2. 2. ทรัพยากรดิน
ดิน (soil) หมายถึง เทหวัตถุธรรมชาติที่ปกคลุมผิวโลก เกิดจากการแปลงสภาพหรือ สลายตัวของหิน แร่ธาตุและอินทรีย์วัตถุผสมคลุกเคล้ากันตามธรรมชาติรวมตัวกันเป็นชั้นบาง ๆ เมื่อมีน้ำและอากาศที่เหมาะสมก็จะทำให้พืชเจริญเติบโตและยังชีพอยู่ได้ ดินบางแห่งมีสีแดงเข้ม บางแห่งมีสีดำ เทา น้ำตาล เหลือง ความหยาบละเอียดก็แตกต่างกัน สีสันที่แตกต่างกันและความละเอียดขึ้นอยู่กับวัตถุต้นกำเนิด (parents materials) อินทรีย์วัตถุและสิ่งมีชีวิตบนพื้นโลก
ดินเกิดขึ้นได้อย่างไร
เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินชนิดต่าง ๆ มีองค์ประกอบเป็นแร่ดินเหนียว (Clay mineral) ซึ่งพัฒนามาจากแร่ประกอบหินบนเปลือกโลก ได้แก่ เฟลด์สปาร์ ควอรตซ์ ไมก้า
หินที่สลายตัวผุกร่อนนี้จะมีขนาดต่าง ๆ กัน เมื่อผสมรวมกับซากพืช ซากสัตว์ น้ำ อากาศ กลายเป็นเนื้อดินส่วนประกอบเหล่านี้จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามชนิดของดิน
การผุพังสลายตัว (Weathering) ซึ่งประกอบด้วยขบวนการทั้งทางกายภาพและทางเคมี โดยดินมีวัตถุต้นกำเนิดมาจากหิน แหล่งที่มาของหินส่วนใหญ่มาจากหินหนืดเปลือกโลกชั้นใน หินที่ให้กำเนิดดินส่วนใหญ่ คือ หินอัคนี เมื่อเกิดภูเขาไฟระเบิดขึ้นสิ่งที่พ่นออกมาจะถูกกัดกร่อนจากธรรมชาติอันได้แก่ ความร้อน ความชื้น ปฏิกิริยาทางเคมีและแรงลม เป็นต้น เมื่อมีการรวมตัวกับสารอินทรีย์ต่าง ๆ กลายเป็นสารกำเนิดดิน ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นดินในโอกาสต่อไป
การผุพังของแร่เฟลด์สปาร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบของหินต้นกำเนิดดิน (Parent rock) เมื่อฝนตกลงมา น้ำฝนจะละลายคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ทำให้มีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ (กรดคาร์บอนิก) น้ำฝนบนพื้นผิวซึมลงสู่เบื้องล่างและทำปฏิกิริยากับแร่เฟลด์สปาร์ที่อยู่ในหิน ทำให้เกิดการผุพัง ทางเคมี แตกสลายเป็นเม็ดทราย (ซิลิกา) แร่ดินเหนียวประจุโซเดียม แคลเซียม และ โปแตสเซียม
เกิดจากการสลายตัวผุพังของหินชนิดต่าง ๆ มีองค์ประกอบเป็นแร่ดินเหนียว (Clay mineral) ซึ่งพัฒนามาจากแร่ประกอบหินบนเปลือกโลก ได้แก่ เฟลด์สปาร์ ควอรตซ์ ไมก้า
หินที่สลายตัวผุกร่อนนี้จะมีขนาดต่าง ๆ กัน เมื่อผสมรวมกับซากพืช ซากสัตว์ น้ำ อากาศ กลายเป็นเนื้อดินส่วนประกอบเหล่านี้จะมากน้อยแตกต่างกันไปตามชนิดของดิน
การผุพังสลายตัว (Weathering) ซึ่งประกอบด้วยขบวนการทั้งทางกายภาพและทางเคมี โดยดินมีวัตถุต้นกำเนิดมาจากหิน แหล่งที่มาของหินส่วนใหญ่มาจากหินหนืดเปลือกโลกชั้นใน หินที่ให้กำเนิดดินส่วนใหญ่ คือ หินอัคนี เมื่อเกิดภูเขาไฟระเบิดขึ้นสิ่งที่พ่นออกมาจะถูกกัดกร่อนจากธรรมชาติอันได้แก่ ความร้อน ความชื้น ปฏิกิริยาทางเคมีและแรงลม เป็นต้น เมื่อมีการรวมตัวกับสารอินทรีย์ต่าง ๆ กลายเป็นสารกำเนิดดิน ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นดินในโอกาสต่อไป
การผุพังของแร่เฟลด์สปาร์ซึ่งเป็นส่วนประกอบของหินต้นกำเนิดดิน (Parent rock) เมื่อฝนตกลงมา น้ำฝนจะละลายคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ ทำให้มีสภาพเป็นกรดอ่อนๆ (กรดคาร์บอนิก) น้ำฝนบนพื้นผิวซึมลงสู่เบื้องล่างและทำปฏิกิริยากับแร่เฟลด์สปาร์ที่อยู่ในหิน ทำให้เกิดการผุพัง ทางเคมี แตกสลายเป็นเม็ดทราย (ซิลิกา) แร่ดินเหนียวประจุโซเดียม แคลเซียม และ โปแตสเซียม
ในรูปของสารละลาย
ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่สำคัญสำหรับพืชต่อไป
ขบวนการสร้างดิน
(Soil Forming Process) จะเกิดขึ้นต่อเนื่องจากการผุพังสลายตัวของหินและแร่จนกลายเป็นวัตถุต้นกำเนิดดินชนิดต่าง
ๆ
องค์ประกอบของดิน
ดินมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 อย่างคือ สารอินทรีย์,(แร่ธาตุ) สารอนินทรีย์ อากาศ และน้ำร้อย ปริมาตรของแต่ละส่วนประกอบของดินที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก โดยทั่วไปจะมีแร่ 45% อินทรียวัตถุ 5% น้ำ 25% และอากาศ 25%
องค์ประกอบของดิน
ดินมีองค์ประกอบที่สำคัญ 4 อย่างคือ สารอินทรีย์,(แร่ธาตุ) สารอนินทรีย์ อากาศ และน้ำร้อย ปริมาตรของแต่ละส่วนประกอบของดินที่เหมาะสมแก่การเพาะปลูก โดยทั่วไปจะมีแร่ 45% อินทรียวัตถุ 5% น้ำ 25% และอากาศ 25%
องค์ประกอบของดิน
1. สารอินทรีย์ ได้จากการสลายตัวของสิ่งมีชีวิตที่เน่าเปื่อยผุพังสลายตัวทับถมอยู่ในดินของซากพืช ซากสัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น ไส้เดือน แมลง จุลินทรีย์ ช่วยให้ดินมีลักษณะร่วนซุย มีสีดำหรือสีน้ำตาล ที่เรียกว่า ฮิวมัส (humus) คืออินทรีย์วัตถุเป็นส่วนประกอบที่บอกความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพราะนอกจากจะเป็นสารอาหารของพืชแล้ว ยังมีส่วนทำให้เกิดสภาพกรดอ่อน ๆ ในการช่วยละลายแร่ธาตุในดิน และช่วยเก็บความชื้นไว้ในดินอีกด้วย
2. สารอนินทรีย์ ได้จากการสลายตัวของหินและแร่ อนินทรีย์สารเหล่านี้ประกอบด้วยธาตุซิลิกอนและอะลูมีเนียมเป็นส่วนใหญ่ มีเหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียมและแมกนีเซียมปนบ้างเล็กน้อย ธาตุเหล่านี้พบอยู่ในรูปแร่ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ ไมกา แร่พวกเฟอร์โรแมกนีเซียนซิลิเกตและแร่ดิน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของดิน ดินแต่ละที่จะมีแร่ธาตุในดินในปริมาณแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุต้นกำเนิดเดิมของดิน
3. อากาศ แทรกอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าอากาศบนผิวดิน ดินที่โปร่งมีรูพรุนมากจะมีการระบายอากาศได้ดี ในดินและคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อรวมกับน้ำจะได้กรดคาร์บอนิก ซึ่งจะละลายแร่ธาตุต่างๆให้แก่พืช
4. น้ำ แทรกอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน น้ำในดินจะช่วยละลายแร่ธาตุต่าง ๆ ทำให้รากพืชสามารถดูดธาตุอาหารขึ้นไปใช้ประโยชน์ในการสังเคราะห์แสงได้
ปัจจัยที่ควบคุมการเกิดดิน
1. วัตถุต้นกำเนิดดิน (Soil Parent Materials) เป็นปัจจัยควบคุมการเกิดของดินที่สำคัญ โดยจะเห็นได้ชัดจากดินที่มีอายุน้อยซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับวัตถุต้นกำเนิดมาก และเมื่อดินมีอายุมากขึ้นความแตกต่างจากต้นกำเนิดจะมากขึ้นตามลำดับ วัตถุต้นกำเนิดมีอิทธิพลต่อองค์ประกอบทางเคมีและแร่ธาตุในดิน เนื้อดิน และสีดิน กล่าวว่าดินจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับวัตถุต้นกำเนิดดิน
2. สภาพภูมิประเทศ (Topography) สภาพของพื้นที่มีผลต่อการเกิดดินหลายด้าน เช่นการระบายน้ำและความชื้นในดิน การพังทลายของดิน การเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยการแขวนลอยหรือละลายไป
3. สภาพภูมิอากาศ (Climates) ฝนและอุณหภูมิมีผลทำให้เกิดดินได้เร็วหรือช้า มีผลต่อการสลายตัวของหินและแร่ ในบริเวณเขตอากาศร้อนชื้นจะมีปริมาณฝนตกมาก ซึ่งจะทำให้เกิดการสลายตัวของหินและแร่มากทำให้เกิดดินได้เร็ว ฝนจะไปชะล้างหน้าดิน ส่วนอุณหภูมิจะมีผลต่อปฏิกิริยาในการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งส่งผลต่อสีดินและปริมาณสารอินทรีย์ในดิน
4. สิ่งมีชีวิต (Organisms) สัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินจะช่วยย่อยสลายของเสีย และช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุต่างๆไปตามหน้าตัดดิน จุลินทรีย์จะมีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายซากพืช และซากสัตว์ให้เป็นสารอินทรีย์ และมีบทบาทสำคัญในวัฏจักรแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืช ซากพืชและสัตว์ที่ตายแล้วจะกลายเป็นอินทรียวัตถุ ซึ่งทำให้ดินสมบูรณ์ขึ้น
5. เวลา (Time) การเกิดของดินและการพัฒนาของชั้นดินกว่าจะสมบูรณ์จะต้องใช้เวลามาก คือ ตั้งแต่ 100-200 ปีจนถึง 1-6 ล้านปี ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยดังที่กล่าวแล้วขั้นต้น โดยเฉพาะภูมิอากาศ
ชั้นของดิน
การแบ่งชั้นดินอาศัยการสังเกตจากพื้นที่หน้าตัดด้านข้างของดิน โดยแบ่งออกเป็น 5 ชั้น ได้แก่ ชั้น O ชั้น A ชั้น B ชั้นC และชั้น R
1. สารอินทรีย์ ได้จากการสลายตัวของสิ่งมีชีวิตที่เน่าเปื่อยผุพังสลายตัวทับถมอยู่ในดินของซากพืช ซากสัตว์ และสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น ไส้เดือน แมลง จุลินทรีย์ ช่วยให้ดินมีลักษณะร่วนซุย มีสีดำหรือสีน้ำตาล ที่เรียกว่า ฮิวมัส (humus) คืออินทรีย์วัตถุเป็นส่วนประกอบที่บอกความอุดมสมบูรณ์ของดิน เพราะนอกจากจะเป็นสารอาหารของพืชแล้ว ยังมีส่วนทำให้เกิดสภาพกรดอ่อน ๆ ในการช่วยละลายแร่ธาตุในดิน และช่วยเก็บความชื้นไว้ในดินอีกด้วย
2. สารอนินทรีย์ ได้จากการสลายตัวของหินและแร่ อนินทรีย์สารเหล่านี้ประกอบด้วยธาตุซิลิกอนและอะลูมีเนียมเป็นส่วนใหญ่ มีเหล็ก แคลเซียม โพแทสเซียมและแมกนีเซียมปนบ้างเล็กน้อย ธาตุเหล่านี้พบอยู่ในรูปแร่ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ ไมกา แร่พวกเฟอร์โรแมกนีเซียนซิลิเกตและแร่ดิน ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของดิน ดินแต่ละที่จะมีแร่ธาตุในดินในปริมาณแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุต้นกำเนิดเดิมของดิน
3. อากาศ แทรกอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน มีก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สูงกว่าอากาศบนผิวดิน ดินที่โปร่งมีรูพรุนมากจะมีการระบายอากาศได้ดี ในดินและคาร์บอนไดออกไซด์เมื่อรวมกับน้ำจะได้กรดคาร์บอนิก ซึ่งจะละลายแร่ธาตุต่างๆให้แก่พืช
4. น้ำ แทรกอยู่ตามช่องว่างระหว่างเม็ดดิน น้ำในดินจะช่วยละลายแร่ธาตุต่าง ๆ ทำให้รากพืชสามารถดูดธาตุอาหารขึ้นไปใช้ประโยชน์ในการสังเคราะห์แสงได้
ปัจจัยที่ควบคุมการเกิดดิน
1. วัตถุต้นกำเนิดดิน (Soil Parent Materials) เป็นปัจจัยควบคุมการเกิดของดินที่สำคัญ โดยจะเห็นได้ชัดจากดินที่มีอายุน้อยซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับวัตถุต้นกำเนิดมาก และเมื่อดินมีอายุมากขึ้นความแตกต่างจากต้นกำเนิดจะมากขึ้นตามลำดับ วัตถุต้นกำเนิดมีอิทธิพลต่อองค์ประกอบทางเคมีและแร่ธาตุในดิน เนื้อดิน และสีดิน กล่าวว่าดินจะเป็นอย่างไรขึ้นอยู่กับวัตถุต้นกำเนิดดิน
2. สภาพภูมิประเทศ (Topography) สภาพของพื้นที่มีผลต่อการเกิดดินหลายด้าน เช่นการระบายน้ำและความชื้นในดิน การพังทลายของดิน การเคลื่อนย้ายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยการแขวนลอยหรือละลายไป
3. สภาพภูมิอากาศ (Climates) ฝนและอุณหภูมิมีผลทำให้เกิดดินได้เร็วหรือช้า มีผลต่อการสลายตัวของหินและแร่ ในบริเวณเขตอากาศร้อนชื้นจะมีปริมาณฝนตกมาก ซึ่งจะทำให้เกิดการสลายตัวของหินและแร่มากทำให้เกิดดินได้เร็ว ฝนจะไปชะล้างหน้าดิน ส่วนอุณหภูมิจะมีผลต่อปฏิกิริยาในการย่อยสลายของจุลินทรีย์ในดิน ซึ่งส่งผลต่อสีดินและปริมาณสารอินทรีย์ในดิน
4. สิ่งมีชีวิต (Organisms) สัตว์ที่อาศัยอยู่ในดินจะช่วยย่อยสลายของเสีย และช่วยเคลื่อนย้ายวัตถุต่างๆไปตามหน้าตัดดิน จุลินทรีย์จะมีบทบาทสำคัญในการย่อยสลายซากพืช และซากสัตว์ให้เป็นสารอินทรีย์ และมีบทบาทสำคัญในวัฏจักรแร่ธาตุที่จำเป็นต่อพืช ซากพืชและสัตว์ที่ตายแล้วจะกลายเป็นอินทรียวัตถุ ซึ่งทำให้ดินสมบูรณ์ขึ้น
5. เวลา (Time) การเกิดของดินและการพัฒนาของชั้นดินกว่าจะสมบูรณ์จะต้องใช้เวลามาก คือ ตั้งแต่ 100-200 ปีจนถึง 1-6 ล้านปี ทั้งนี้ขึ้นกับปัจจัยดังที่กล่าวแล้วขั้นต้น โดยเฉพาะภูมิอากาศ
ชั้นของดิน
การแบ่งชั้นดินอาศัยการสังเกตจากพื้นที่หน้าตัดด้านข้างของดิน โดยแบ่งออกเป็น 5 ชั้น ได้แก่ ชั้น O ชั้น A ชั้น B ชั้นC และชั้น R
เราเรียกภาคตัดตามแนวดิ่งของชั้นดินว่า “หน้าตัดดิน” (Soil Horizon) จะบอกถึงลักษณะทางธรณีวิทยา และประวัติภูมิอากาศของภูมิประเทศที่เกิดขึ้นมาก่อนหน้านี้นับพันปี รวมถึงว่ามนุษย์ใช้ดินอย่างไร อะไรเป็นสาเหตุให้ดินนั้นมีสมบัติเช่นในปัจจุบัน และแนวทางที่ดีที่สุดในการใช้ดิน
ชั้นโอ (O Horizon) เป็นดินชั้นบนสุดมักมีสีคล้ำเนื่องจากประกอบด้วยอินทรียวัตถุ (Organic) หรือ ฮิวมัส ซึ่งทำให้เกิดความเป็นกรดส่วนใหญ่จะพบในพื้นที่ป่า
ชั้นเอ (A Horizon) เป็นดินชั้นบน (Top soil) เป็นส่วนที่มีน้ำซึมผ่าน ประกอบด้วยหินแร่และอินทรียวัตถุที่ย่อยสลายสมบูรณ์แล้วอยู่ด้วย ทำให้ดินมีสีเข้มมีแร่ธาตุเป็นส่วนใหญ่ แต่ก็มีสารอินทรีย์ผสมอยู่มากคละเคล้ากับดินทราย และทรายแป้ง ดินชั้นนี้จะมีการชะล้างละลายมากที่สุด โดยจะชะล้างเอาดินเหนียว เหล็กออกไซด์ และอลูมิเนียมออกไซด์ไปอยู่ส่วนล่างดินชั้นนี้
ชั้นบี (B Horizon) เป็นชั้นดินล่าง (subsoil)เกิดจากการชะล้างแร่ธาตุต่างๆ ของสารละลายต่างๆ เคลื่อนตัวผ่านชั้นเอ ลงมามาสะสมในชั้นบี ในเขตภูมิอากาศชื้น ดินในชั้นบีส่วนใหญ่จะมีสีน้ำตาลปนแดง เนื่องจากการสะสมตัวของเหล็กออกไซด์เหนียว เหล็กออกไซด์ และอลูมิเนียมออกไซด์
ชั้นซี (C Horizon) เกิดจากการผุพังของหินกำเนิดดิน (Parent rock) ไม่มีการตกตะกอนของวัสดุดินจากการชะล้าง และไม่มีการสะสมของอินทรียวัตถุชั้น(เป็นชั้นที่หิน และแร่ธาตุกำลังสลายตัวเป็นหินวัตถุต้นกำเนิดดิน)
ชั้นอาร์ (R Horizon) เป็นชั้นของวัตถุต้นกำเนิดดิน หรือ หินพื้น (Bedrock) เป็นหินแข็งหรือหินดินดานที่ยังไม่แปรสภาพ
ชนิดของดิน
จำแนกตามลักษณะของเนื้อดิน มี 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้
1. ดินเหนียว (Clay) คือ ดินที่มีเนื้อละเอียดที่สุด ยืดหยุ่นเมื่อเปียกน้ำเหนียวติดมือ ปั้นเป็นก้อนหรือคลึงเป็นเส้นยาวได้ พังทลายได้ยาก การอุ้มน้ำดี จับยึดและแลกเปลี่ยนธาตุอาหารพืชได้ค่อนข้างสูงจึงมีธาตุอาหารพืชอยู่มาก เหมาะที่จะใช้ปลูกข้าวนาดำเพราะเก็บน้ำได้นาน
2. ดินทราย (Sand) เป็นดินที่เกาะตัวกันไม่แน่น ระบายน้ำและอากาศได้ดีมาก อุ้มน้ำได้น้อย พังทลายง่าย มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำเพราะความสามารถในการจับยึดธาตุอาหารมีน้อย พืชที่ขึ้นอยู่ในบริเวณดินทรายจึงขาดน้ำและธาตุอาหารได้ง่าย
3. ดินร่วน (Loam) คือ ดินที่มีเนื้อค่อนข้างละเอียด นุ่มมือ ยืดหยุ่นพอควร ระบายน้ำได้ดีปานกลาง มีแร่ธาตุอาหารพืชมากกว่าดินทราย เหมาะสำหรับใช้เพาะปลูก
สัดส่วนผสมของอนุภาคจะมีผลต่อสมบัติทางฟิสิกส์ ประกอบด้วย
1. ความสามารถในการอุ้มน้ำ (water holding capacity) ซึ่งหมายถึง สมบัติของดินในการบรรจุน้ำไว้ได้มากหรือน้อย
2. ความสามารถในการถ่ายเทอากาศ (aeration) ซึ่งหมายถึง ความสามารถของดินในการบรรจุอากาศ และความสามารถในการถ่านเทแลกเปลี่ยนแก๊สระหว่างดินและบรรยากาศ
3. ความแข็งของดิน (soil strength) หมายถึง ความแน่นหนาของการเกาะตัวกันของอนุภาคดินเป็นก้อนดิน หรือเป็นหน้าตัดดิน
สมบัติทางฟิสิกส์ 3 ประการมีผลกระทบอย่างสำคัญต่อการงอกของกล้า และการเติบโตของพืช
ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ดินจะอุดมสมบูรณ์เพียงใดขึ้นอยู่กับส่วนประกอบต่อไปนี้
1. เนื้อดิน
ดินร่วนมีช่องว่างของเม็ดดินจะเปิดโอกาสให้อากาศ ความชื้น และอินทรียวัตถุที่มีชีวิต และที่ล้มตายไปแล้วแทรกซอนเข้าไปผสมอยู่ได้สะดวก และเหมาะต่อการงอกของเมล็ดและการแหย่รากของพืชลงไปในดินได้โดยง่าย
2.ความหนาของชั้นดิน
การที่ชั้นดินหนาจะมีความอุดมสมบูรณ์ เพราะ มีปริมาณแร่ธาตุ ที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืชอยู่มาก สามารถเก็บกักความชื้นเอาไว้ในเนื้อดินได้เป็นจำนวนมาก และ ปริมาณของขุยอินทรีย์ที่ปะปนอยู่ในดินจะมากพอสำหรับการเจริญเติบโตของพืช
3.ส่วนประกอบทางเคมีของดิน
ดินที่มีสภาพเป็นกลาง คือจะมีค่า pH ของดินราว 6-7 มีสภาพเป็นกรด ด่าง หรือเกลือ นอกจากนี้ปริมาณแร่ธาตุที่ผสมผสานอยู่ในเนื้อดินจะต้องมีปริมาณพอเหมาะ ทั้งนี้เพราะแร่ธาตุบางชนิดถ้าหากมีอยู่ในดินมากเกินไป จะทำให้ดินเกิดมลพิษปรากฏขึ้น เช่น สารหนู ฟลูออรีน ตะกั่ว
4.อินทรียวัตถุ
อินทรียวัตถุทั้งสิ่งมีชีวิตและตายแล้วเน่าเปื่อยผุพังสลายตัวปะปนอยู่ในดิน ทำให้ดินร่วนซุยช่วยเพิ่มปริมาณขุยอินทรีย์ให้กับดินอีกด้วย จะมีคุณค่าต่อการเจริญเติบโตของพืช
ปัญหาของดิน
ความเสื่อมโทรมเนื่องจากการพังทลาย (Erosion) และการเสียหน้าดิน
1. สาเหตุทางธรรมชาติ
1) ฝนและลม ภัยธรรมชาติ เช่น ภูเขาไฟระเบิด แผ่นดินไหว และน้ำท่วม
2) ธารน้ำแข็ง เกิดในเขตหนาวโดยน้ำในลำธารจะกลายเป็นน้ำแข็ง แต่พอถึงฤดูร้อนอากาศจะอุ่นขึ้นจนน้ำแข็งละลาย น้ำและก้อนน้ำแข็งที่ไหลลงสู่ที่ต่ำจะทำให้ดินตามตลิ่งพังทลายได้ง่าย
3) น้ำใต้ดินและแรงโน้มถ่วงของโลกมีส่วนทำให้ดินยุบตัว ที่สูง เช่น หน้าผา ไหล่เขา
2. สาเหตุจากมนุษย์
1) การตัดไม้ทำลายป่า การเพาะปลูก ทำให้หน้าดินถูกน้ำฝนชะล้างได้ง่าย
2) การขุดและถมที่ดิน เช่น การถมดินเพื่อการก่อสร้างอาคารและถนน
3) การทำเหมืองแร่ ทำให้ดินพังทลายและเสื่อมความสมบูรณ์เช่นกัน
ความเสื่อมโทรมของดินเนื่องจากการสูญเสียความอุดมสมบูรณ์
ดินไม่เหมาะสมต่อการใช้ประโยชน์ ใช้ปลูกพืชได้ไม่ดีหรือปลูกไม่ได้เลย ได้แก่
1. ดินทรายจัด (
2. ดินตื้น (Shallow soil) หน้าดินมีเนื้อดินน้อยเนื่องจากมีลูกรังกรวด และหินปูนอยู่ในระดับที่ตื้นกว่า 50 %
3. ดินเค็ม (Saline soil) เป็นดินที่น้ำทะเลท่วมถึง หรือมีหินเกลืออยู่ใต้ดิน
4. ดินเป็นกรดจัดหรือดินเปรี้ยว (Acid soil) มักมีสารประกอบของไพไรต์ (pyrite) ผสมอยู่มาก เมื่อระบายน้ำ หรือทำให้ดินแห้ง และอากาศถ่ายเทดี ก็จะเปลี่ยนสภาพเป็นกรดกำมะถัน
5. ดินอินทรีย์ หรือดินพรุ (Organic soil) เกิดจากการเน่าเปื่อยผุพังทับถมกันนับพันปีของพืชพรรณตามที่ลุ่มมีน้ำขัง สีน้ำตาลแดงคล้ำจนถึงดำ มีอินทรียวัตถุมากกว่าร้อยละ 20 จึงมีฤทธิ์เป็นกรดจัด ชั้นล่างเป็นดินเหนียว
6. ดินที่ลาดชันมาก (Steep slope)
7. ดินที่ชุ่มน้ำหรือที่ลุ่มน้ำขัง (Wetland) จะมีน้ำขังอยู่เป็นเวลานาน หรืออาจขังทั้งปี
8. ดินเป็นพิษ (Toxic soil) เพราะเกิดการสะสมของสารพิษจากการทิ้งของเสีย
การแก้ปัญหาและการอนุรักษ์ดิน
1. การใช้ดินอย่างถูกต้องและเหมาะสม จะช่วยรักษาระบบนิเวศและสมดุลทาง
2. การคลุมดินเพื่อป้องกันการพังทลาย โดยการปลูกพืชคลุมดินหรือใช้วัสดุอื่นๆ คลุมเพื่อป้องกันการกัดเซาะของน้ำและลม การปลูกพืชคลุมดิน (Cover cropping) เป็นการปลูกพืชที่มีรากมาก รากลึก ใบแผ่แน่น และโตเร็ว เช่น หญ้าแฝก ยึดหน้าดินไว้เพื่อป้องกันการชะล้าง นอกจากนี้ ซากพืชยังทำให้ดินร่วนซุยและอุ้มน้ำได้ดีขึ้นอีกด้วย การปลูกพืชสลับเป็นแถบ (Strip cropping) คือ การปลูกพืชต่างชนิดกันสลับเป็นแถบตามที่ราบหรือขวางความลาดเทของพื้นที่
3. การทำทางระบายน้ำ โดยจัดทำร่องน้ำเพื่อลดการพังทลายของดิน
4. การปรับปรุงดิน ได้แก่ การปรับความเป็นกรด ด่าง เค็ม หรือ สภาพทางกายภาพของดินให้สามารถใช้ประโยชน์ได้มากขึ้น เช่น การใส่ปูนขาว หรือใส่ปูนมาร์ลเพื่อแก้ไขดินกรด ใส่ยิปซัมเพื่อแก้ไขดินด่าง การทดน้ำเพื่อชะล้างเกลือ หรือกรดออกจากดิน ใส่แกลบเพื่อดูดซับเกลือที่ จะซึมขึ้นมายังผิวดินเดิม ใส่อินทรียวัตถุ เช่น หญ้า ฟางข้าว เถาถั่ว ฯลฯ ลงในดินเพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์
3. ทรัพยากรป่าไม้
ป่าไม้ หมายถึงบรรดาพื้นที่ที่มีพฤกษชาตินานาชนิดปกคลุมอยู่โดยมีไม้ต้นขนาดต่าง ๆ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ โดยไม่คำนึงว่าจะมีการทำ ไม้ในพื้นที่ดังกล่าวหรือไม่ก็ตาม สามารถผลิตไม้หรือมีอิทธิพลต่อลมฟ้า อากาศ หรือต่อระบบของน้ำในท้องถิ่น
ประเภทของป่าไม้ แบ่งเป็น 2 ประเภทใหญ่
1. ป่าดงดิบหรือป่าไม่ผลัดใบ (Evergeen forest)
เป็นระบบนิเวศน์ของป่าไม้ชนิดที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดไม่ผลัดใบคือมีใบเขียวตลอดเวลา แบ่งออกเป็น 4 ชนิด คือ
1.1. ป่าดิบเมืองร้อน (Tropical evergreen forest)
เป็นป่าที่อยู่ในเขตลมมรสุมพัดผ่านเกือบตลอดปี มีปริมาณน้ำฝนมาก แบ่งออกเป็น :
1.1.1. ป่าดงดิบชื้น (Tropical rain forest) ป่าดงดิบชื้นขึ้นอยู่ในที่ราบหรือบนภูเขาที่ระดับความสูงไม่เกิน 600 เมตรจากระดับน้ำทะเลในบริเวณที่ฝนตกชุกปริมาณน้ำฝนไม่น้อยกว่า 2,000 มม. ต่อปี ไม่มีฤดูแล้งโครงสร้างเป็นป่ารกทึบ ไม้ที่พบให้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจค่อนข้างสูง ได้แก่ เป็นพันธุ์ไม้ในวงศ์ยาง (Dipterocarpaceae) เช่น ยาง ตะเคียน สยา ตะเคียนชันตาแมว กะบาก
ส่วนไม้พื้นล่างจะรกทึบไปด้วยจำพวกหวาย ปาล์ม ไม้ไผ่ ระกำ และเถาวัลย์ชนิดต่างๆ ขึ้นเบียดเสียดอยู่หนาแน่น
1.1.2. ป่าดงดิบแล้ง (Dry evergreen forest)
ป่าชนิดนี้พบตั้งแต่ระดับความสูงจากน้ำทะเลปานกลางประมาณ 100 เมตรขึ้นไปถึง 800 เมตรและมีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,000-2,000 มม.ต่อปี พันธุ์ไม้เด่นๆที่พบในป่าชนิดนี้ก็มี ตะเคียนหิน ตะเคียนทอง กะบาก กระบก กระเบากลัด ยางนา ยางแดง สมพง มะค่าโมง ประดู่ส้ม ฯลฯ ส่วนไม้พื้นล่างก็มีปาล์ม หวาย ขิง ข่าแต่มีปริมาณไม่หนาแน่นเท่าป่าดิบชื้น
1.1.3 ป่าดงดิบเขา (Hill evergreen forest)
ป่าดงดิบเขาอาจพบได้ในบริเวณที่เป็นยอดเขาที่มีความสูงตั้งแต่เขา 1,000 เมตรขึ้นไปมีปริมาณน้ำฝนระหว่าง 1,500-2,000 มม./ปี ป่าดิบเขา มีลักษณะคล้ายป่าดงดิบ ไม้เด่นคือไม้สกุลก่อ (Fagaceae) เช่นก่อสีเสียด ก่อแพะ ก่อเดือย ก่อแป้น ฯลฯ นอกจากนี้ก็มีอบเชย กำยาน มะขามป้อม สนและมีพืชประเภทมอส เฟิน กล้วยไม้ กล้วยไม้ดิน กุหลาบป่า (Rhododendron spp.) มีประโยชน์ในด้านรักษาต้นน้ำลำธาร
2. ป่าสน (Coniferous forest)
ป่าพบบริเวณที่มีพื้นที่ซึ่งมีความสูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 700 เมตรขึ้นไป ถือเอาลักษณะโครงสร้างของสังคมป่าเป็นหลักในการจำแนกโดยเฉพาะองค์ประกอบของชนิดพันธุ์ไม้ในสังคมและไม้เด่น เป็นสนสองใบหรือสนสามใบ เช่น ภูกระดึง จังหวัดเลย
3. ป่าพรุหรือป่าบึง (Swamp forest)
พบตามที่ราบลุ่มมีน้ำขังอยู่เสมอ และตามริมฝั่งทะเลที่มีโคลนเลนทั่วๆ ไป แบ่งออกเป็น
3.1 ป่าพรุ (
เป็นสังคมป่าที่อยู่ถัดจากบริเวณสังคมป่าชายเลนในที่ๆมีน้ำจืดแช่ขังอยู่ตลอดทั้งปี พื้นป่ามีซากพืชและอินทรีย์วัตถุต่างๆที่ไม่ย่อยสลาย (Peat) และอินทรีย์วัตถุที่ย่อยสลายแล้ว ทับถมกันหนาประมาณ 50-100 ซม. หรือมากกว่า น้ำที่ขังอยู่ในป่าพรุเกิดจากน้ำฝน ไม่ได้เกิดจากแม่น้ำลำคลอง
ป่าพรุพบกระจายอยู่ทั่วไปมีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ตั้งแต่บนภูเขาสูงที่มีน้ำขังตลอดปี เช่นพรุอ่างกา บนดอยอินทนนท์ ป่าพรุที่มีขนาดใหญ่ที่สุดคือป่าพรุโต๊ะแดง จ.นราธิวาส พันธุ์ไม้ส่วนใหญ่ในป่าพรุจะมีรากค้ำยัน และมีหวายชนิดต่างๆ พวกปาล์มเช่นหลาวชะโอน สาคู กะพ้อ หมากแดง เต่าร้าง หลุมพีส่วนไม้พื้นล่างก็มีพวกเตยและเฟิร์น
3.2 ป่าชายเลน (Mangrove swamp forest)
(sub-tropical region) มีสังคมพืชที่ขึ้นอยู่บริเวณชายฝั่งทะเล ปากแม่น้ำที่มีน้ำขึ้น-น้ำลงอย่างเด่นชัดในรอบวันหรืออ่าว ซึ่งเป็น บริเวณที่มีระดับน้ำทะเลท่วมถึงในช่วงที่น้ำทะเลขึ้นสูงสุด มีสังคมพืชที่ประกอบด้วยพันธุ์ไม้หลายชนิดหลายตระกูล และเป็นพวกที่มี ใบเขียวตลอดปี(evergreen species) พืชที่ขึ้น สกุลโกงกาง (Rhizophora) โกงกาง แสมทะเล ปรง ตะบูน ลำพู ลำแพน ตะบูน เหงือกปลาหมอ ตาตุ่มทะเล ฯลฯ
ป่าชายหาด (Beach forest)
พบแพร่กระจายอยู่ตามชายฝั่งทะเล บริเวณที่น้ำทะเลท่วมไม่ถึง และมีไอเค็มที่พัดจากทะเล ที่เป็นดินกรวด ทราย และโขดหิน สันทรายดินมีฤทธิ์เป็นด่าง พืชจะต้องปรับตัวให้กับสภาพ แวดล้อม เพื่อให้สามารถดำรงชีวิตอยู่ เช่น การขาดแคลนน้ำจืดในบางฤดูกาล คลื่นลมที่มีความรุนแรงแสงแดด ทำให้ต้นไม้ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็นพุ่ม ลำต้นคดงอ และแตกกิ่งก้านสาขามาก กิ่งสั้น ใบหนาแข็ง รากของพืชประเภทนี้จึงมีลักษณะที่สามารถงอกได้ตามข้อ และงอกรากได้ใหม่ตามการทับถมของทรายที่พัดเข้ามาพอกพูน เมื่อรากเจริญเติบโตขึ้นก็จะพัฒนากลายเป็นลำต้นยึดเหนี่ยวทรายไว้ และจะรุกคืบจนกระทั่งครอบคลุมชายหาดนั้น พรรณพืชป่าเช่น ต้นหูกวาง โพธิ์ทะเล ปอทะเล จะชอบขึ้นกลุ่ม ๆ จึงเปรียบเสมือนกำแพงกันคลื่นลม ให้กับพืชชายหาดชนิดอื่น ๆ
ป่าผลัดใบ (Deciduous
Forest )
ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดผลัดใบหรือทิ้งใบเก่าในฤดูแล้ง เพื่อจะแตกใบใหม่เมื่อเข้าฤดูฝน ยกเว้นพืชชั้นล่างจะไม่ผลัดใบ จะพบป่าชนิดนี้ตั้งแต่ระดับความสูง 50-800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ป่าเบญจพรรณ
ระดับความสูงตั้งแต่ 50 - 800 เมตร หรือสูงกว่านี้ในบางจุด ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง พื้นที่ป่าไม้ไม่รกทึบ มีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก มีทั่วไปตามภาคต่างๆ ที่เป็นที่ราบ หรือตามเนินเขา พันธุ์ไม้จะผลัดใบในฤดูแล้งพบมากในภาคเหนือและภาคกลาง และภาคอีสานไม้ที่สำคัญได้แก่ไม้สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง ชิงชัน ซึ่งเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง
2. ป่าแดง ป่าโคก ป่าแพะ หรือป่าเต็งรัง
ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-1,000 เมตร ขึ้นสลับกับป่าเบญจพรรณ ลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ไม้เด่นอันเป็นไม้ดัชนีประกอบด้วยไม้ในวงศ์ยาง (ไม้พลวง, เหียง, กราด และพะยอม )ยังมี พวกติ้วขนมะขามป้อม ฤดูแล้งจะผลัดใบเกิดไฟป่า ป่าเต็งรังมีถิ่นกระจายโดยกว้างๆ ซ้อนทับกันอยู่กับป่าเบญจพรรณ และมีปัจจัยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้งปรากฎในดินที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์พบอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีชั้นของลูกรังตื้น ป่าชนิดนี้เป็นสังคมพืชเด่นในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ประกอบด้วยพันธุ์ไม้ชนิดผลัดใบหรือทิ้งใบเก่าในฤดูแล้ง เพื่อจะแตกใบใหม่เมื่อเข้าฤดูฝน ยกเว้นพืชชั้นล่างจะไม่ผลัดใบ จะพบป่าชนิดนี้ตั้งแต่ระดับความสูง 50-800 เมตร เหนือระดับน้ำทะเล แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ
1. ป่าเบญจพรรณ
ระดับความสูงตั้งแต่ 50 - 800 เมตร หรือสูงกว่านี้ในบางจุด ลักษณะทั่วไปเป็นป่าโปร่ง พื้นที่ป่าไม้ไม่รกทึบ มีไม้ไผ่ชนิดต่างๆ ขึ้นอยู่มาก มีทั่วไปตามภาคต่างๆ ที่เป็นที่ราบ หรือตามเนินเขา พันธุ์ไม้จะผลัดใบในฤดูแล้งพบมากในภาคเหนือและภาคกลาง และภาคอีสานไม้ที่สำคัญได้แก่ไม้สัก แดง ประดู่ มะค่าโมง ชิงชัน ซึ่งเป็นไม้ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจสูง
2. ป่าแดง ป่าโคก ป่าแพะ หรือป่าเต็งรัง
ระดับความสูงจากระดับน้ำทะเล 50-1,000 เมตร ขึ้นสลับกับป่าเบญจพรรณ ลักษณะเป็นป่าโปร่ง มีต้นไม้ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ไม้เด่นอันเป็นไม้ดัชนีประกอบด้วยไม้ในวงศ์ยาง (ไม้พลวง, เหียง, กราด และพะยอม )ยังมี พวกติ้วขนมะขามป้อม ฤดูแล้งจะผลัดใบเกิดไฟป่า ป่าเต็งรังมีถิ่นกระจายโดยกว้างๆ ซ้อนทับกันอยู่กับป่าเบญจพรรณ และมีปัจจัยกำหนดที่เกี่ยวข้องกับความแห้งแล้งปรากฎในดินที่ไม่ค่อยอุดมสมบูรณ์พบอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่มีชั้นของลูกรังตื้น ป่าชนิดนี้เป็นสังคมพืชเด่นในทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
3. ป่าหญ้า
ป่าที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ป่าชนิดอื่นๆถูกทำลาย ดินมีสภาพเสื่อมโทรม ดินมีฤทธิ์เป็นกรด ต้นไม้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จึงมีหญ้าต่างๆ เข้าไปแทนที่ แพร่กระจายทั่วต้นไม้ไม่สามารถขึ้นหรือเจริญเติบโตต่อไปได้ พวกหญ้าต่างๆจึงเข้ามาแทนที่
ป่าที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่ป่าชนิดอื่นๆถูกทำลาย ดินมีสภาพเสื่อมโทรม ดินมีฤทธิ์เป็นกรด ต้นไม้ไม่สามารถเจริญเติบโตได้ จึงมีหญ้าต่างๆ เข้าไปแทนที่ แพร่กระจายทั่วต้นไม้ไม่สามารถขึ้นหรือเจริญเติบโตต่อไปได้ พวกหญ้าต่างๆจึงเข้ามาแทนที่
ความสำคัญของป่าไม้
1. สำคัญต่อระบบนิเวศวิทยา ป่าไม้ช่วยป้องกันการชะล้างพังทลายของดิน ทำให้ดินอุดมสมบูรณ์ เป็นต้นน้ำลำธาร เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เป็นต้น
2. สำคัญด้านเศรษฐกิจ ป่าไม้ให้ผลผลิตที่นำมาใช้ประโยชน์ต่อมนุษย์ได้อย่างมากมาย
3. สำคัญด้านนันทนาการ ป่าไม้เป็นแหล่งพักผ่อนหย่อนใจของมนุษย์ เป็นแหล่งศึกษาธรรมชาติวิทยา
4. ทรัพยากรน้ำ
ความหมายของน้ำ
น้ำ (Water) เป็นสารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน (Hydrogen) และออกซิเจน (Oxygen) ในอัตราส่วน 1 ต่อ 8 โดยน้ำหนักพบ 3 สถานะ คือ ของเหลว ของแข็ง (น้ำแข็งขั้วโลก) และก๊าซ พื้นที่ 2 ใน 3 ของโลกปกคลุมด้วยน้ำในมหาสมุทร แม้ว่าจะมีน้ำอยู่อย่างมากมายบนโลก แต่น้ำจืดซึ่งจำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์มีประมาณ 3 % ที่เหลือเป็นน้ำเค็มประมาณ 97 %
วัฏจักรของน้ำ
เริ่มต้นจากการระเหย (Evaporation) ของน้ำที่อยู่ตามแหล่งน้ำต่างๆ ตั้งแต่ มหาสมุทร ทะเล ลำน้ำ คลองต่างๆ รวมทั้งจากพื้นดินด้วย จากการคายน้ำของพืช (Transpiration) กลายเป็นไอน้ำซึ่งอุณหภูมิของไอน้ำจะสูงกว่าจุดเดือด และเมื่ออากาศมีอุณหภูมิต่ำ ไอน้ำจะเข้ามารวมตัวกัน มีความเบากว่าอากาศ เมื่อไอน้ำลอยสู่เบื้องบน ได้รับความเย็นและกลั่นตัวกลายเป็นละอองน้ำเล็ก ๆ ลอยจับตัวกันเป็นกลุ่มเฆม เมื่อจับตัวกันมากขึ้นและกระทบความเย็นก็จะกลั่นตัวกลายเป็นหยดน้ำตกลงสู่พื้นโลก น้ำจะระเหยกลายเป็นไอน้ำอีกเมื่อได้รับความร้อนจากดวงทิตย์ ไอน้ำจะรวมตัวกันเป็นเมฆและกลั่นตัวเป็นหยดน้ำกระบวนการเช่นนี้ เกิดขึ้นเป็นวัฏจักรหมุนเวียนต่อเนื่องกันตลอดเวลา เรียกว่า วัฏจักรน้ำ
น้ำที่ตกสู่ผิวโลกส่วนใหญ่มาจากมหาสมุทรที่มีพื้นที่ประมาณ 70% ของพื้นที่ทั้งโลก และเมื่อมีการตกสู่พื้นโลกประมาณ 10 % ในรูปของฝนและหิมะ จากนั้นบางส่วนก็จะซึมลงดินและลงสู่แหล่งน้ำต่างๆ และเกิดการระเหยอีกครั้งหนึ่ง
ประเภทของแหล่งน้ำ
น้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในด้านต่างๆ ของมนุษย์จำแนกรายละเอียดได้ดังต่อนี้
1. แหล่งน้ำผิวดิน ได้แก่ น้ำจากแม่น้ำต่างๆ ลำน้ำธรรมชาติต่างๆ ห้วย หนองน้ำ คลอง บึง ตลอดจน อ่างเก็บน้ำ นับว่าเป็นแหล่งน้ำจืดที่สำคัญที่สุด ปริมาณน้ำจะลดน้อยลงไป ทั้งนี้เนื่องจากปัจจัยสำคัญดังนี้
(1) สภาพความผันแปรของปริมาณน้ำฝน
(2) ลักษณะภูมิประเทศ
(3) โครงสร้างของดิน
2. แหล่งน้ำใต้ดิน (Underground water) น้ำใต้ดินเกิดจากน้ำผิวดินซึมผ่านดินชั้นต่าง ๆ ลงไปถึงชั้นดินหรือหินที่น้ำซึมผ่านไม่ได้ (Impervious rocks) จะสะสมตัวอยู่ระหว่างช่องว่างของเนื้อดิน โดยเฉพาะชั้นดินเป็นกรวด ทราย หิน ปริมาณของน้ำที่ขังอยู่จะค่อย ๆ เพิ่มปริมาณมากขึ้นในฤดูฝน และลดปริมาณลงในฤดูแล้ง ปกติน้ำใต้ดินจะมีการไหล (run-off) ถ่ายเทระดับได้เช่นเดียวกับน้ำผิวดิน
3. แหล่งน้ำจากทะเล มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์มากมายเช่นจะเป็นอาหารจำพวกโปรตีน การใช้เป็นเส้นทางคมนาคม ทรัพยากรใต้ทะเลจำพวกน้ำมัน ก๊าซธรรมชาติ และแร่ธาตุอื่น ๆ ที่ขุดเจาะมาใช้ประโยชน์ เช่น แมงกานีส ดีบุก แต่เนื่องจากมีแร่ธาตุสะสมอยู่เป็นจำนวนมาก จึงทำให้น้ำทะเลมีรสเค็ม
4. แหล่งน้ำจากฟ้า น้ำจากฟ้าหรือน้ำฝน ปริมาณน้ำจืดที่ได้จากน้ำฝนในแต่ละบริเวณจะมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับ
(1) สภาพลมฟ้าอากาศ
(2) ลักษณะภูมิประเทศ
(3) ทิศทางของลม
(4) ความสม่ำเสมอของฝนที่ตก
(5) การกระจายของปริมาณน้ำฝน
(6) อิทธิพลอื่น ๆ เช่น ฤดูกาล พื้นที่ป่าไม้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น