ประกาศ

สวัสดีค่ะทุกคน ครูพี่เตยมีเวลามาอัพเดตข้อมูลหน้าเว็บแล้วนะคะ ต่อไปนี้ทุกคนสามารถเยี่ยมชมได้แล้วจ้า #อย่าลืมกดติดตามนะคะ

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ลักษณะภูมิประเทศ (Landforms) คืออะไร?

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะภูมิประเทศ หมายถึง ลักษณะของเปลือกโลกที่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปแบบต่างๆ เช่นที่ราบ เนินเขา ห้วยหนอง คลองบึง แม่น้ำ ลำธาร ทะเล ทะเลสาบ

ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
1. ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎเด่นชัด (Major Landforms) หมายถึง ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปแบบต่างๆ อย่างเด่นชัด ที่สำคัญ มี 4 ชนิด ได้แก่ ที่ราบ ที่ราบสูง และภูเขา
2. ลักษณะภูมิประเทศที่ไม่ปรากฎเด่นชัด (Minor Landform) หมายถึง ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปแบบต่างๆ ที่สำคัญ รองลงมา เช่น แม่น้ำ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเล


ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ
ที่ราบ (plains) หมายถึง ภูมิประเทศที่เป็นที่แบนราบ ซึ่งอาจจะราบเรียบหรือมีลักษณะสูงต่ำเล็กน้อย โดยปกติความสูงของพื้นที่จะแตกต่างกันไม่เกิน 150 เมตร เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง ที่ราบโคราชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น ที่ราบแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่
1) ที่ราบแบน (Flat Plains) คือ ที่ราบที่มีความสูงต่ำต่างกัน ไม่เกิน 15 เมตร
2) ที่ราบลูกฟูก (Undulating Plains) คือ ที่ราบที่มีความสูงต่ำต่างกันตั้งแต่ 15-45 เมตร
3) ที่ราบลูกระนาด (Rolling Plains) คือ ที่ราบที่มีความสูงต่ำต่างกัน ไม่เกิน 45-90 เมตร
4) ที่ราบขรุขระ (Rough Dissected Plains) คือ ที่ราบที่มีความสูงต่ำต่างกัน ตั้งแต่ 90-150 เมตร

ที่ราบสูง (plateaus) หมายถึง ภูมิประเทศที่อยู่สูงจากระดับผิวรอบตั้งแต่ 300 เมตร ขึ้นไป โดยปกติที่ราบสูงมักมีขอบสูงชันอย่างน้อย 2 ด้าน ขอบสูงชันของ ที่ราบสูงเรียกว่า ผาชัน หรือ ผาตั้ง (Escarpment)

ที่ราบสูงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1) ที่ราบสูงเชิงเขา (Piedmont plateous) เป็นที่ราบสูงอยู่ระหว่างภูเขากับทะเล เช่นที่ราบสูงปาตาโกเนีย ที่ราบสูงโคโลราโด
2) ที่ราบสูงระหว่างภูเขา (Intermontane Plateaus) เป็นที่ราบสูงอยู่ระหว่างภูเขา หรือที่ราบสูงที่มีภูเขาขนาบไว้สองด้านหรือสามด้านเช่นที่ราบสูงทิเบต ที่ราบสูงอนาโตเลีย ที่ราบสูงแมกซิโก
3) ที่ราบสูงในทวีป (Continental Plateaus) เป็นที่ราบสูงที่มีที่ราบ หรือทะเลล้อมรอบ เรียกที่ราบชนิดนี้อีกอย่างหนึ่งว่าที่ราบสูงรูปโต๊ะ (Tablelands) เช่นที่ราบสูงอาหรับ ที่ราบสูงเดคคาน
เนินเขา (Hills) หมายถึง พื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นจากบริเวณรอบๆ แต่ไม่สูงมากเท่าภูเขา มีความแตกต่างของระดับพื้นที่ประมาณ 150-600 เมตร เช่น เขาวัง ที่จังหวัดเพชรบุรี เขาวงพระจันทร์ และเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี เป็นต้น เนินเขาแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภท คือ
1) เนินเขาที่เกิดจากการสร้างของภูมิประเทศ (Structural Hills) เป็นเนินเขาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ทำให้ดินมีความสูงขึ้นมีสภาพเป็นเนินเขา
2) เนินเขาที่เกิดจากการกัดกร่อนพังทลาย (Erosional Hills) เป็นพื้นที่ที่สูงมาแต่เดิมแล้วถูกกัดกร่อนผุพังจนความสูงลดลงเหลือเท่าระดับเนินเขา


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ภูเขา (Mountains) หมายถึง ภูมิประเทศที่มีความสูงจากพื้นบริเวณรอบๆคล้ายเนินเขาแต่มีความแตกต่างของระดับพื้นที่ ตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไป เช่น ภูเขาผีปันน้ำ ภูเขาถนนธงชัย เป็นต้น
ภูเขาแบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 5 ชนิด คือ
      1) ภูเขาโก่งตัว (Folded Mountains) เป็นภูเขาที่เกิดจากการแรงอัดในแนวขนานทำให้เปลือกโลกหดตัว หรือเกิดจากการเคลื่อนที่ของเพตลมาชนกันและดันตัวทำให้เกิดการคดงอของเปลือกโลก เช่นเทือกเขาหิมาลัย


ที่มา : http://travel.mthai.com/world-travel/37872.html

      2) ภูเขาเลื่อนตัว (Fault หรือ Block Mountains) เป็นภูเขาที่เกิดจากรอยเลื่อนระดับ ทำให้พื้นที่หนึ่งถูกยกขึ้นเป็นภูเขา หรือเกิดจากการหักตัวแล้วต่อเหลื่อม ทำให้เอียงด้านใดด้านหนึ่ง ขึ้นเป็นภูเขา ลักษณะเป็นภูเขาด้านข้างชันและยอดราบ
      3) ภูเขารูปโดม (Domed Mountains) เป็นภูเขาที่เกิดจากการดันตัวขึ้นมาของหินหนืด laccolith ขึ้นมาบนผิวโลกแต่ยังไม่ทันพ้นผิวโลกก็เย็นตัวเสียก่อน ภูเขารูปโดมจะปรากฏเมื่อหินชั้นที่เคยถูกทับถมอยู่สึกกร่อนไปหมด เช่น แบล็คฮิลส์และรัชมอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา


ภูเขารัชเมอร์ ที่มา: http://www.internetdict.com/th/answers/who-are-the-faces-on-mount-rushmore.html


หุบเขา หมายถึงพื้นที่ที่ต่ำระหว่างที่สูง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1) หุบเขาขนาน (parallel valleys) หุบเขาที่ขนานกับเทือกเขาเกิดขึ้นพร้อมๆกับภูเขานั้น

2) หุบเขาตามขวาง (lateral valleys) หุบเขาที่เชื่อมหุบเขาขนานสองแห่ง เกิดจากการกัดเซาะของแม่น้ำ ธารน้ำแข็ง อาจมีแม่น้ำไหลผ่าน



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น