ประกาศ

สวัสดีค่ะทุกคน ครูพี่เตยมีเวลามาอัพเดตข้อมูลหน้าเว็บแล้วนะคะ ต่อไปนี้ทุกคนสามารถเยี่ยมชมได้แล้วจ้า #อย่าลืมกดติดตามนะคะ

วันอังคารที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ลักษณะภูมิอากาศ  
 https://ncnisakorn087.wordpress.com/





ความแตกต่างของลมฟ้าอากาศ (Weather) กับภูมิอากาศ (Climate)

กาลอากาศ (Weather) หมายถึง สภาวะของอากาศที่ปรากฏอยู่ในบรรยากาศในเวลาใดเวลาหนึ่งที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เช่น ระยะเวลา 1 วัน หรือขณะที่ฝนตกเราเรียกว่า อากาศชื้น เป็นต้น

ภูมิอากาศ (Climate) หมายถึง สภาวะอากาศโดยเฉลี่ยของบรรยากาศในระยะเวลาที่นานเป็นปี ๆ ตามที่ปรากฏในที่ใดที่หนึ่ง มีการวัดหรือจดบันทึกเอาไว้ เช่นการจดบันทึกระดับอุณหภูมิ ปริมาณน้ำฝนในช่วงเวลาหลาย ๆ ปีของสถานีวัดตรวจอากาศที่กรุงเทพมหานคร

องค์ประกอบของลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ

1). อุณหภูมิของอากาศ

2). ความกดดันของอากาศ

3). ลม ทิศทางและความเร็วของลม

4). ความชุ่มชื้นในบรรยากาศ ( เมฆ,หมอก,น้ำฝน,ความชื้น)

ปัจจัยที่ควบคุมลมฟ้าอากาศและภูมิอากาศ
1). ที่ตั้ง ละติจูด

2). กระแสน้ำในมหาสมุทร

3). ความกดอากาศ สูง ต่ำ ในบริเวณต่างๆ ทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของลม

4). ความแตกต่างระหว่างพื้นดินและพื้นน้ำ ทำให้เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิ

5). ความสูงต่ำของแผ่นดิน

6). การวางตัวของแนวเทือกเขาขวางกั้นทิศทางลมหรือไม่




การจำแนกภูมิอากาศ


ดร.วลาดิเมียร์ เคิปเปน แห่งมหาวิทยาลัยกราซ ประเทศออสเตรีย ได้แบ่งภูมิอากาศ

โดยยึด อุณหภูมิ ความชื้น พืชพรรณธรรมชาติ ออกเป็น 5 ประเภทใช้สัญลักษณ์อักษรตัวใหญ่คือ

A, B, C, D และE และสัญลักษณ์ตัวอักษรเล็ก แสดงสัญลักษณ์ของความชื้นของฤดูกาล แสดงอยู่ในภูมิอากาศแบบ A, C, D คือ f หมายถึงไม่มีฤดูแล้ง s หมายถึงฤดูร้อน w หมายถึงฤดูหนาว

S ,W แสดงภูมิอากาศย่อยของอากาศแบบ B
S หมายถึงภูมิอากาศแบบกึ่งทะเลทราย W หมายถึงภูมิอากาศแบบทะเลทราย

T , F แสดงภูมิอากาศย่อยของอากาศแบบ E
T หมายถึงภูมิอากาศแบบทุนดรา F หมายถึงภูมิอากาศแบบพืดน้ำแข็ง

1. แบบ A ภูมิอากาศเขตร้อนชื้น (Tropical Climates) ลักษณะภูมิอากาศแบบนี้คือ อุณหภูมิเฉลี่ยของทุกเดือนจะไม่ต่ำกว่า 64.4 ºF (18 ºC) ภูมิอากาศแบบนี้ไม่มีฤดูหนาว แบ่งเป็น 3 แบบ

1.1 แบบป่าฝนเมืองร้อน (Af)

1.2 แบบมรสุม(Am)

1.3 แบบสะวันนา(Aw)

https://sites.google.com/site/kruporkondee/phumi-xakas-khet-rxn-chun-thaeb-sunysutr


ผจญภัยในทุ่งหญ้าสะวันนา 

2. แบบ B ภูมิอากาศแบบแห้งแล้ง (Dry Climates) คือการระเหยของน้ำจะมีมากกว่าปริมาณน้ำฝนที่ตกลงมาแบ่งได้เป็น 2 แบบ

2.1 แบบทะเลทราย (BW) BWh, ทะเลทรายเขตร้อน BWk ทะเลทรายเขตอบอุ่น

2.2 แบบกึ่งแห้งแล้งหรือทุ่งหญ้าสเตปป์ (BS) แบ่งเป็น BSh ทุ่งหญ้าสเตปป์เขตร้อน ,BSkทุ่งหญ้าสเตปป์เขตอบอุ่น 

http://portal.edu.chula.ac.th/lesa_cd/assets/document/lesa212/6/wind/climate/climate.html



3. แบบ C ภูมิอากาศแบบอบอุ่น หรือ ภูมิอากาศอุณหภูมิปานกลาง (Warm Temperate) คือเดือนที่หนาวเย็นที่สุดจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 64.4 ºF แต่ไม่ต่ำกว่า 26.6º F (-3ºC) แบ่งเป็น 3 แบบ

3.1 อบอุ่นชื้นไม่มีฤดูแล้ง (Cf) เดือนที่แห้งแล้งที่สุดของฤดูร้อนปริมาณน้ำฝนมากกว่า 3 ซ.ม.

3.2 อบอุ่นชื้นที่มีฤดูหนาวแล้ง(Cw) ฤดูร้อนชุมชื้น

3.3 แบบเมดิเตอร์เรเนียน (Cs)ฤดูร้อน ร้อนและแห้งแล้งฤดูหนาวอบอุ่นชุ่มชื้น ฝนส่วนใหญ่ตกในฤดูหนาว 

https://tawtaw13.wordpress.com

4. แบบ D ภูมิอากาศชื้นแบบอุณหภูมิต่ำ (Snow) ลักษณะนี้คือ เดือนที่หนาวที่สุดมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่ำกว่า 26.6 ºF(-3ºC) ส่วนที่ร้อนที่สุดคือ 50º F(10ºC) พื้นดินเป็นน้ำแข็งมีหิมะปกคลุมหลายเดือน

แบ่งเป็น 2 แบบคือ
4.1 ภูมิอากาศแบบหนาวเย็น ฤดูหนาวชุ่มชื้น (Df)ไม่มีฤดูแล้ง

4.2 ภูมิอากาศแบบหนาวเย็น ฤดูหนาวแห้งแล้ง(Dw) 


5. แบบ E ภูมิอากาศแบบขั้วโลก (Ice Climate) คือ ไม่มีเดือนใดที่มีอุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่า 50º F ( 10º C) แบ่งเป็น 2 แบบ

5.1 แบบทุนดรา ( Tundra Climate) (ET) อุณหภูมิฤดูร้อนต่ำกว่า 10ºC สูงกว่า 0ºC มีพืชพรรณธรรมชาติเล็กน้อยและฤดูร้อนสั้น

5.2 แบบเขตน้ำแข็งขั้วโลก (Ice Cap Climate)(EF) หรือทุ่งน้ำแข็ง พืดน้ำแข็ง อุณหภูมิทุกเดือนเฉลี่ยจะต่ำกว่า 0ºC อยู่แถบขั้วโลกไม่มีพืชพรรณธรรมชาติขึ้น อยู่แถบทวีปแอนตาร์กติก เกาะกรีนแลนด์ และขั้วโลกเหนือ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น