ประกาศ

สวัสดีค่ะทุกคน ครูพี่เตยมีเวลามาอัพเดตข้อมูลหน้าเว็บแล้วนะคะ ต่อไปนี้ทุกคนสามารถเยี่ยมชมได้แล้วจ้า #อย่าลืมกดติดตามนะคะ

วันพฤหัสบดีที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2559

แนะนำเว็บไซต์


สวัสดีคะ...ทุกคนที่เข้ามาเยี่ยมชมหน้าเว็บ ก่อนอื่นดิฉันต้องบอกว่า เว็บนี้เป็นเว็บที่สร้างขึ้นมาเพื่อเป็นสื่อการเรียนการสอน จัดทำขึ้นในรายวิชา Information  Technology Innovation and Communication in Education. เพื่อให้ทุกคนได้เยี่ยมชมศึกษาความรู้ที่ฉันได้จัดทำขึ้น...ขอบคุณคะ
Hello ... anyone who visits the page, first I must say that this web site is built to be a medium of instruction conducted in the course of innovative information and communications technology education. So everyone can visit the knowledge that I have made ... Thank you.

วันพุธที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ภูมิศาสตร์กายภาพ คืออะไร ??



ภูมิศาสตร์กายภาพ (Physical Geography)

        เป็นวิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับลักษณะการเปี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางกายภาพรอบๆตัวมนุษย์ ทั้งส่วนที่เป็นธรณีภาค อุทกภาค และบรรยากาศภาค

ภูมิศาสตร์กายภาพสามารถแบ่งออกเป็นหลายสาขาย่อยดังต่อไปนี้

ธรณีสัณฐานวิทยา เป็นสาขาเกี่ยวกับลักษณะพื้นผิวและกระบวนการเกิดรูปร่างของโลกทั้งในอดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบัน
อุทกวิทยา เป็นสาขาที่เกี่ยวข้องกับปริมาณละคุณภาพของน้ำที่เคลื่อนไหวและสะสมอยู่ในดินและหินรวมถึงเหนือผิวดินด้วยซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับวัฏจักรของน้ำ
วิทยาธารน้ำแข็ง เป็นการศึกษาเกี่ยวกับธารน้ำแข็งและพืดน้ำแข็ง รวมทั้งในเรื่องของหิมะภาคและปรากฎการณ์ที่เกี่ยวข้องกับน้ำแข็ง
ชีวภูมิศาสตร์เป็นศาสตร์ซึ่งเกี่ยวข้องกับลักษณะแบบรูปทางภูมิศาสตร์จากการกระจายของสปีชีส์ต่างๆ รวมถึงกระบวนการที่มีผลต่อแบบรูปด้วย
ภูมิอากาศวิทยา เป็นการศึกษาว่าด้วยลักษณะภูมิอากาศ ซึ่งถูกกำหนดโดยสภาพอากาศจากผลเฉลี่ยของระยะเวลาที่เกิดขึ้น
อุตุนิยมวิทยา เป็นการศึกษาเชิงสหวิทยาการทางวิทยาศาสตร์เกี่ยวกับบรรยากาศ ว่ามีกระบวนการทางสภาพอากาศและการคาดการณ์ในช่วงเวลาสั้นๆ (ตรงข้ามกับภูมิอากาศวิทยา)
ปฐพีวิทยา เป็นการศึกษาเกี่ยวกับดินในสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ
ภูมิศาสตร์บรรพกาล เป็นการศึกษาแบบสหสาขาวิชาว่าด้วยการตรวจสอบวัสดุในชั้นหินเพื่อแสดงการกระจายของภาคพื้นทวีปผ่านธรณีกาล
ภูมิศาสตร์ชายฝั่ง เป็นการศึกษาพลวัตระหว่างมหาสมุทรกับแผ่นดินที่มีผลต่อชายฝั่ง โดยผสานองค์ความรู้ของภูมิศาสตร์กายภาพ (เช่น ธรณีสัณฐานวิทยาชายฝั่ง ธรณีวิทยา และสมุทรศาสตร์) และภูมิศาสตร์มนุษย์ที่มีต่อชายฝั่ง
สมุทรศาสตร์เป็นสาขาของภูมิศาสตร์กายภาพว่าด้วยการศึกษาทะเลและมหาสมุทรของโลก
ควอเทอร์นารีไซน์ เป็นสาขาที่เป็นสหวิทยาการว่าด้วยการศึกษาถึงยุคควอเทอร์นารี
นิเวศวิทยาภูมิทัศน์ เป็นสาขาย่อยของนิเวศวิทยาและภูมิศาสตร์ว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ของภูมิทัศน์ว่าส่งผลต่อต่อกระบวนการทางนิเวศวิทยา เช่น การกระจายและการไหลของพลังงาน วัสดุ และปัจเจคบุคคลในสิ่งแวดล้อม
จีโอเมติก เป็นสาขาว่าด้วยการรวบรวม จัดเก็บ ประมวลผล และการนำส่งข้อมูลทางภูมิศาสตร์หรือข้อมูลอ้างอิงตำแหน่ง
ภูมิศาสตร์สิ่งแวดล้อมเป็นสาขาของภูมิศาสตร์ว่าด้วยการวิเคราะห์ปฏิสัมพันธ์เชิงพื้นที่ระหว่ามนุษย์กับธรรมชาติของโลก





วันอังคารที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2559

หินเกิดได้อย่างไร ?



หิน (Rocks)
เป็นส่วนหนึ่งของเปลือกโลกส่วนที่เป็นของแข็ง ส่วนที่เรียกว่า ธรณีภาค

หิน คือ มวลของแข็งที่ประกอบไปด้วยแร่ชนิดเดียวกัน หรือหลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ เนื่องจากองค์ประกอบของเปลือกโลกส่วนใหญ่เป็นสารประกอบซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) ดังนั้นเปลือกโลกส่วนใหญ่มักเป็นแร่ตระกูลซิลิเกต นอกจากนั้นยังมีแร่ตระกูลคาร์บอเนต เนื่องจากบรรยากาศโลกในอดีตส่วนใหญ่เป็นคาร์บอนไดออกไซด์ น้ำฝนได้ละลายคาร์บอนไดออกไซด์บนบรรยากาศลงมาสะสมบนพื้นดินและมหาสมุทร สิ่งมีชีวิตอาศัยคาร์บอนสร้างธาตุอาหารและร่างกาย แพลงตอนบางชนิดอาศัยซิลิกาสร้างเปลือก เมื่อตายลงทับถมกันเป็นตะกอน หินส่วนใหญ่บนเปลือกโลกจึงประกอบด้วยแร่ต่างๆ
แร่ประกอบหิน
ตระกูลซิลิเกต
เฟลด์สปาร์ (Feldspar) เป็นกลุ่มแร่ที่มีมากกว่าร้อยละ 50 ของเปลือกโลก ซึ่งเป็นองค์ประกอบส่วนใหญ่ของหินหลายชนิดในเปลือกโลก เฟลด์สปาร์มีองค์ประกอบหลักเป็นอะลูมิเนียมซิลิเกต รูปผลึกหลายชนิด เมื่อเฟลด์สปาร์ผุพังจะกลายเป็นอนุภาคดินเหนียว
ควอรตซ์ (SiO2) เป็นซิลิกาไดออกไซด์บริสุทธิ์ มีรูปผลึกทรงหกเหลี่ยมยอดแหลม มีอยู่ทั่วไปในเปลือกทวีป และแมนเทิล เมื่อควอรตซ์ผุพังจะกลายเป็นอนุภาคทราย (Sand)

ไมก้า (Mica) เป็นกลุ่มแร่ซึ่งมีรูปผลึกเป็นแผ่นบาง มีองค์ประกอบเป็นอะลูมิเนียมซิลิเกตไฮดรอกไซด์ มีอยู่ทั่วไปในเปลือกทวีป ไมก้ามีโครงสร้างเช่นเดียวกับ แร่ดินเหนียว (Clay minerals) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของดิน
แอมฟิโบล(Amphibole group)มีลักษณะคล้ายเฟลด์สปาร์แต่มีสีเข้ม มีองค์ประกอบเป็นอะลูมิเนียมซิลิเกตไฮดรอกไซด์ ที่มีแมกนีเซียม เหล็ก หรือ แคลเซียม เจือปนอยู่ มีอยู่แต่ในเปลือกทวีป ตัวอย่างของกลุ่มแอมฟิโบลที่พบเห็นทั่วไปคือ แร่ฮอร์นเบลนด์ ซึ่งอยู่ในหินแกรนิต

โอลิวีน (Olivine) มีองค์ประกอบหลักเป็นแมกนีเซียมและเหล็กซิลิเกต มีอยู่
น้อยมากบนเปลือกโลก กำเนิดจากแมนเทิลใต้เปลือกโลก
ตระกูลคาร์บอเนต
แคลไซต์ (Calcite) เป็นแคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) เป็นองค์ประกอบหลักของหินปูนและหินอ่อน
โดโลไมต์ (Dolomite) ซึ่งเป็นแร่คาร์บอเนตอีกประเภทหนึ่งที่มีแมงกานีสผสม อยู่แร่คาร์บอเนตทำปฏิกิริยากับกรดเป็นฟองฟู่ให้ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์



    นักธรณีวิทยาแบ่งหินออกเป็น 3 ประเภท ตามลักษณะการเกิด
1.  หินอัคนี (Igneous   rocks)
            หินอัคนี เป็นหินที่เกิดจากการแข็งตัวของหินหนืด (Magma) จากชั้นแมนเทิลที่โผล่ขึ้นมา  วิธีการประเภทของหินอัคนี
          แบ่งหินอัคนีตามแหล่งที่มา  แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive igneous rocks) เป็นหินที่เกิดจากหินหนืดที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ การเย็นตัวช้าทำให้ผลึกแร่มีขนาดใหญ่ และเนื้อหยาบ เช่น หินแกรนิต หินไดออไรต์และหินแกบโบร   ถ้าแข็งตัวอยู่ในระดับลึกมาก เรียกว่า หินอัคนีระดับลึก หรือหินอัคนีชั้นบาดาล(PlutonicRock)
  2.หินอัคนีพุ (Extrusive Igneous Rock) เป็นหินที่พ้นเปลือกโลกออกมาแข็งตัวตามผิวโลก  
ซึ่งส่วนใหญ่จะแข็งตัวอยู่ในรูปร่างที่แสดงว่าก่อนแข็งตัวได้ไหลออกไปจากรอยพุหรือรอยแยกขอผิวโลกบางทีเรียกว่า หินภูเขาไฟ เป็นหินหนืดที่เกิดจากลาวาบนพื้นผิวโลกเย็นตัวอย่างรวดเร็ว     
          หินที่มีองค์ประกอบเป็นควอรตซ์และเฟลด์สปาร์มากจะมีสีอ่อน ส่วนหินที่มีองค์ประกอบเป็นเหล็กและแมกนีเซียมมากจะมีสีเข้ม
 หินอัคนีพุ  เย็นตัวเร็วผลึกเล็ก               
 หินไรโอไลต์                             หินแอนดีไซต์                        หินบะซอลต์                     
การจำแนกหินอัคนีโดยใช้องค์ประกอบของแร่ ปริมาณของซิลิกา (SiO2) เป็นเกณฑ์แบ่งได้ 4 ชนิด             
          1. หินชนิดกรด (Felsic)มีซิลิกา 72% อะลูมิเนียมออกไซด์ 14% เหล็กออกไซด์ 3% แมกนีเซียมออกไซด์ 1% อื่นๆ 10% แร่หลักคือควอรตซ์  และเฟลด์สปาร์ แร่รองคือไมก้าและแอมฟิโบล  เป็นสีที่พบมีสีอ่อนเช่น หินแกรนิต  หินไรโอไลต์
2.  หินชนิดปานกลาง  (Intermediate)  มีซิลิกา 59% อะลูมิเนียมออกไซด์ 17% เหล็กออกไซด์ 8 % แมกนีเซียมออกไซด์ 3% อื่นๆ 13% แร่หลักคือเฟลด์สปาร์และแอมฟิโบล แร่รองคือไพร็อกซีนสีที่พบเห็นเป็นสีเทาหรือเขียว เช่น หินแอนดีไซต์  หินไดออไรต์
3.หินชนิดด่าง (Mafic) มีซิลิกา 50% อะลูมิเนียมออกไซด์ 16% เหล็กออกไซด์ 11 แมกนีเซียมออกไซด์ 7% อื่นๆ 16% แร่หลักคือเฟลด์สปาร์ ไพร็อกซีน แร่รองคือ โอลีวิน หินแกรโบร หินบะซอลต์  สีที่พบเทาแก่
           4.หินอัลตรเมฟิก  (Ultramafic) มีซิลิกา 45% อะลูมิเนียมออกไซด์ 4% เหล็กออกไซด์ 12 % แมกนีเซียมออกไซด์ 31% อื่นๆ 8% แร่หลักคือ ไพร็อกซีน โอลีวิน แร่รองคือ เฟลด์สปาร์  เช่นหินเพริโดไทต์สีที่พบเป็นสีเขียวเข้มหรือดำ
        ข้อสังเกต
  หินชนิดกรด มีซิลิกามาก หินที่มีองค์ประกอบเป็นควอรตซ์และเฟลด์สปาร์มากจะมีสีอ่อน หินที่มีองค์ประกอบเป็นเหล็กและแมกนีเซียมมากจะมีสีเข้ม

หินอัคนีที่สำคัญ

หินแกรนิต (Granite) เป็นหินอัคนีแทรกซ้อนที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ จึงมีเนื้อหยาบซึ่งประกอบด้วยผลึกขนาดใหญ่ของแร่ควอรตซ์สีเทาใส   แร่เฟลด์สปาร์สีขาวขุ่น และแร่ฮอร์นเบลนด์  หินแกรนิตแข็งแรงมาก  นิยมใช้ทำครก เช่น ครกอ่างศิลา   ภูเขาหินแกรนิตมักเตี้ยและมียอดมน เนื่องจากเปลือกโลกซึ่งเคยอยู่ชั้นบนสึกกร่อนผุพัง เผยให้เห็นแหล่งหินแกรนิตซึ่งอยู่เบื้องล่าง
หินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินอัคนีพุ เนื้อละเอียด เกิดจากการเย็นตัวของลาวา มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีนเป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่โอลิวีนปนมาด้วย   เนื่องจากเกิดขึ้นจากแมกมาใต้เปลือกโลก  หินบะซอลต์หลายแห่งในประเทศไทยเป็นแหล่งกำเนิดของอัญมณี (พลอยชนิดต่างๆ) เนื่องจากแมกมาดันผลึกแร่ซึ่งอยู่ลึกใต้เปลือกโลก ให้โผล่ขึ้นมาเหนือพื้นผิว
หินไรโอไลต์ (Ryolite) เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวา มีเนื้อละเอียดซึ่งประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็ก มีแร่องค์ประกอบเหมือนกับหินแกรนิต แต่ผลึกเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้  ส่วนมากมีสีชมพู และสีเหลือง
หินแอนดีไซต์ (Andesite) เป็นหินอัคนีพุซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวาในลักษณะเดียวกับหินไรโอไรต์ แต่มีองค์ประกอบของแมกนีเซียมและเหล็กมากกว่า จึงมีสีเขียวเข้ม 
หินพัมมิซ (Pumice) เป็นหินแก้วภูเขาไฟชนิดหนึ่งซึ่งมีฟองก๊าซเล็กๆ อยู่ในเนื้อมากมายคล้ายฟองน้ำ   มีส่วนประกอบเหมือนหินไรโอไลต์   มีน้ำหนักเบา ลอยน้ำได้  ชาวบ้านเรียกว่า หินส้ม ใช้ขัดถูภาชนะทำให้มีผิววาว 

หินออบซิเดียน (Obsedian)  เป็นหินแก้วภูเขาไฟซึ่งเย็นตัวเร็วมากจนผลึกมีขนาดเล็กมาก เหมือนเนื้อแก้วสีดำ   หินออบซิเดียน


2. หินตะกอน (Sedimentary rocks)

หินตะกอนเป็นหินที่เกิดจากการทับถมของตะกอน โคลนตม และวัตถุต่างๆจับตัวและอัดแน่นเกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี หรือหินเมื่อถูกแสงแดด ลมฟ้าอากาศ และน้ำ หรือ ถูกกระแทก แตกเป็นก้อนเล็กๆ หรือผุกร่อน เสื่อมสภาพลง เศษหินที่ผุพังทั้งอนุภาคใหญ่และเล็กถูกพัดพาไปสะสมอัดตัวกัน เป็นชั้นๆ เกิดความกดดันและปฏิกิริยาเคมีจนกลับกลายเป็นหินอีกครั้ง หินที่เกิดใหม่นี้เราเรียกว่า “หินตะกอน”หรือ “หินชั้น”

ปัจจัยที่ทำให้เกิดหินตะกอนหรือหินชั้น มีดังนี้

การผุพัง (Weathering) คือ การที่หินผุพังทำลายลงอยู่กับ มีตัวกระทำ จากลมฟ้าอากาศ สารละลาย และรวมทั้งการกระทำของต้นไม้ แบคทีเรีย ตลอดจนการแตกตัวทางกลศาสตร์ มีการเพิ่มอุณหภูมิและลดอุณหภูมิสลับกัน

กระบวนการผุพังทางเคมี (Chemical Weathering)
1. การละลายคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศทำให้เกิดฝนกรด

2. การผุพังของแคลไซต์ มีคาร์บอนไดออกไซด์และน้ำเป็นตัวกระทำ

“แคลไซต์ทำปฏิกิริยากับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ และน้ำ ทำให้เกิดประจุในสารละลาย”

3. การผุพังของแคลไซต์ โดยแคลไซต์ทำปฏิกิริยากับสารละลาย ทำให้เกิดประจุ

4. การผุพังของเฟลด์สปาร์ โดยมีน้ำและก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัวกระทำ

“แร่เฟลด์สปาร์ผุพังแล้วกลายเป็นดินและทราย”



การกร่อน (Erosion)
หมายถึง กระบวนการที่ทำให้สารเปลือกโลกหลุด ละลายไป หรือกร่อนไป โดยมีการเคลื่อนที่กระจัดกระจายไปจากที่เดิม ต้นเหตุคือตัวการธรรมชาติ ซึ่งได้แก่ ลมฟ้าอากาศ กระแสน้ำ ธารน้ำแข็ง การครูดถู ภายใต้อิทธิพลของแรงโน้มถ่วง
การพัดพา (Transportation) หมายถึง การเคลื่อนที่ของมวลหิน ดิน ทราย โดยกระแสน้ำ กระแสลม หรือธารน้ำแข็ง ภายใต้แรงดึงดูดของโลก อนุภาคขนาดเล็กจะถูกพัดพาให้เคลื่อนที่ไปได้ไกลกว่าอนุภาคขนาดใหญ่
การทับถม (Deposit) เกิดขึ้นเมื่อตัวกลางซึ่งทำให้เกิดการพัดพา เช่น กระแสน้ำ กระแสลม หรือธารน้ำแข็ง อ่อนกำลังลงและยุติลง ตะกอนที่ถูกพัดพาจะสะสมตัวทับถมกัน ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางอุณหภูมิ ความกดดัน ปฏิกิริยาเคมี และเกิดการตกผลึก หินตะกอนที่อยู่ชั้นล่างจะมีความหนาแน่นสูงและมีเนื้อละเอียดกว่าชั้นบน เนื่องจากแรงกดดันซึ่งเกิดขึ้นจากน้ำหนักตัวทับถมกันเป็นชั้นๆ


ประเภทของหินตะกอน
            จำแนกหินตะกอนตามลักษณะการเกิดออกเป็น 3 กลุ่มคือ
1.1   หินตะกอนอนุภาค (Clastic rocks) ได้แก่
          หินกรวดมน (Congromorate) เป็นหินเนื้อหยาบเกิดจากตะกอนซึ่งเป็นหิน กรวด ทราย ที่ถูกกระแสน้ำพัดพามาอยู่รวมกัน สารละลายในน้ำใต้ดินทำตัวเป็นซิเมนต์ประสานให้อนุภาคใหญ่เล็ก
 เหล่านี้ เกาะตัวกันเป็นก้อนหิน
              หินทราย (Sandstone) เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียดปานกลาง เกิดจากการทับถมตัวของทราย มีองค์ประกอบหลักเป็นแร่ควอรตซ์ คนโบราณใช้หินทรายแกะสลัก สร้างปราสาท และทำหินลับมีด
     หินดินดาน (Shale) เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียดมาก เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคทรายแป้งและอนุภาคดินเหนียวทับถมกันเป็นชั้นบางๆ ขนานกัน เมื่อทุบหินจะแตกตัวตามรอยชั้น (ฟอสซิลมีอยู่ในหินดินดาน)   ดินเหนียวที่เกิดดินดานใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา
1.2  หินตะกอนเคมี (Chemical sedimentary rocks) ได้แก่
       หินปูน (Limestone) เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งทับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด   หินปูนใช้ทำเป็นปูนซิเมนต์ และใช้ในการก่อสร้าง
     หินเชิร์ต (Chert) หินตะกอนเนื้อแน่น แข็ง เกิดจากการตกผลึกใหม่   เนื่องจากน้ำพาสารละลายซิลิกาเข้าไปแล้วระเหยออก ทำให้เกิดผลึกซิลิกาแทนที่เนื้อหินเดิม   หินเชิร์ตมักเกิดขึ้นใต้ท้องทะเล   เนื่องจากแพลงตอนที่มีเปลือกเป็นซิลิกาตายลง เปลือกของมันจะจมลงทับถมกัน   หินเชิร์ตจึงปะปะอยู่ในหินปูน
     1.3  หินตะกอนอินทรีย์ (Organic sedimentary rocks) ได้แก่
ถ่านหิน(Coal) เกิดจากการทับถมของซากพืชที่ยังเน่าเปื่อยไม่หมด เนื่องจากสภาวะออกซิเจนต่ำ สภาวะเช่นนี้เกิดตามห้วยหนองคลองบึง ในแถบภูมิอากาศแบบเส้นศูนย์สูตร การทับถมทำให้เกิดการแรงกดดันที่จะระเหยขับไล่น้ำและสารละลายอื่นๆออกไป ถ้ามีปริมาณคาร์บอนมากขึ้นถ่านหินจะยิ่งมีสีดำ ลิกไนต์(Lignite)เป็นถ่านหินคุณภาพปานกลาง แอนทราไซต์(Anthracite) เป็นถ่านหินคุณภาพสูง

   3. หินแปร (Metamorphic rocks)

หินแปร คือหินที่แปรสภาพไปจากโดยการกระทำของความร้อน แรงดัน และปฏิกิริยาเคมี หินแปรบางชนิดยังแสดงเค้าเดิม บางชนิดผิดไปจากเดิมมากจนต้องอาศัยดูรายละเอียดของเนื้อใน หรือสภาพสิ่งแวดล้อมจึงจะทราบที่มา อย่างไรก็ตามหินแปรชนิดหนึ่งๆ จะมีองค์ประกอบเดียวกันกับหินต้นกำเนิด แต่อาจจะมีการตกผลึกของแร่ใหม่ เช่น หินชนวนแปรมาจากหินดินดาน หินอ่อนแปรมาจากหินปูน เป็นต้น

หินแปรส่วนใหญ่เกิดขึ้นในระดับลึกใต้เปลือกโลกหลายกิโลเมตร ที่ซึ่งมีความดันสูงและอยู่ใกล้กลับหินหนืดร้อนในชั้นแอสทีโนสเฟียร์ แต่การแปรสภาพในบริเวณใกล้พื้นผิวโลกเนื่องจาก

สิ่งแวดล้อมโดยรอบก็คงมี นักธรณีวิทยาแบ่งการแปรสภาพออกเป็น 2 ประเภท คือ

         1. การแปรสภาพสัมผัส (Contact metamorphism) เป็นการแปรสภาพเพราะความร้อน เกิดขึ้น ณ บริเวณที่หินหนืดหรือลาวาแทรกดันขึ้นมาสัมผัสกับหินท้องที่ ความร้อนและสารจากหินหนืดหรือลาวาทำให้หินท้องที่ในบริเวณนั้นแปรเปลี่ยนสภาพผิดไปจากเดิม
         2. การแปรสภาพบริเวณไพศาล (Regional metamophic) เป็นการแปรสภาพของหินซึ่งเกิดเป็นบริเวณกว้างใหญ่ไพศาลเนื่องจากอุณหภูมิและความกดดัน โดยปกติการแปรสภาพแบบนี้จะไม่มีความเกี่ยวพันกับมวลหินอัคนี และมักจะมี “ริ้วขนาน” (Foliation) จนแลดูเป็นแถบลายสลับสี บิดเป็นแบบลูกคลื่น ซึ่งพบในหินชีสต์ หินไนส์ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการการตกผลึกใหม่ของแร่ในหิน ทั้งนี้ริ้วขนานอาจจะแยกออกได้เป็นแผ่นๆ และมีผิวหน้าเรียบเนียน เช่น หินชนวน


ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ หินอัคนี หินตะกอน หินแปร













วันจันทร์ที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2559

วัฏจักรหิน (Rock cycle)  

คลิกชมคลิบก่อนอ่าน


      ลักษณะวัฏจักรของหิน          
            เมื่อหินหนืดร้อนภายในโลก (Magma) และ หินหนืดร้อนบนพื้นผิวโลก (Lava) เย็นตัวลงกลายเป็น หินอัคนี  ลมฟ้าอากาศ น้ำ และแสงแดด ทำให้หินผุพังสึกกร่อนเป็นตะกอน ทับถมกันเป็นเวลานานหลายล้านปี แรงดันและปฏิกิริยาเคมีทำให้เกิดการรวมตัวเป็น หินตะกอน หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า หินชั้น  การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกและความร้อนจากแมนเทิลข้างล่าง ทำให้เกิดการแปรสภาพเป็น หินแปร  กระบวนการเหล่านี้เกิดขึ้นเป็นวงรอบเรียกว่า วัฏจักรหิน
Rock cycle)  อย่างไรก็ตามกระบวนการไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับ หินอัคนี หินชั้น และหินแปร     การเปลี่ยนแปลงประเภทหินอาจเกิดขึ้นย้อนกลับไปมาได้ ขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม
สรุปของวัฏจักรหิน
แมกมาในชั้นแมนเทิล แทรกตัวขึ้นสู่เปลือกโลก เนื่องจากมีอุณหภูมิสูง ความหนาแน่นต่ำ แรงดันสูง   แมกมาที่ตกผลึกภายในเปลือกโลกกลายเป็นหินอัคนีแทรกซอน  (มีผลึกขนาดใหญ่) ส่วนแมกมาที่เย็นตัวบนพื้นผิวกลายเป็นหินอัคนีพุ (มีผลึกขนาดเล็ก) 
#  หินทุกชนิดเมื่อผุพัง สึกกร่อน จะถูกพัดพาให้เป็นตะกอน ทับถม และกลายเป็นหินตะกอน
#  หินทุกชนิดเมื่อถูกกดดัน หรือทำให้ร้อน เนื้อแร่จะตกผลึกใหม่  กลายเป็นหินแปร
#  หินทุกชนิดเมื่อหลอมละลาย จะกลายเป็นแมกมา เมื่อมันแทรกตัวขึ้นสู่เปลือกโลก จะเย็นตัวลงกลายเป็นหินอัคนี
หินที่มีซากดึกดำบรรพ์
เรามักพบซากดึกดำบรรพ์ฝังอยู่ในหินตะกอน  (Sedimentary rock) ซึ่งเป็นหินที่เกิดจากการทับถมของตะกอน  นอกจากนี้เราอาจพบซากดึกดำบรรพ์ในชั้นตะกอนที่ยังไม่แข็งตัวเป็นหิน หรือกึ่งแข็งตัว
หินตะกอนที่เรามักพบซากดึกดำบรรพ์จะมีลักษณะดังต่อไปนี้
1.ตะกอนดินเหนียว (Clay)  เป็นตะกอนเนื้อดินขนาดละเอียดมาก  ยังไม่แข็งตัวเป็นหิน 
มักมีรากพืช  และซากสิ่งมีชีวิตต่างปะปน  ตะกอนดินที่มีซากดึกดำบรรพ์อยู่มักมีสีเทาดำ  ซากดึก
ดำบรรพ์ที่พบมักสมบูรณ์ทั้งตัว  กระดูกหรือเปลือกเดิมมีการเปลี่ยนแปลงน้อยมาก
             2. ตะกอนหินชั้นภูเขาไฟ (Pyroclastic sediments)  เป็นตะกอนที่ภูเขาไฟพ่นออกมาอาจมีทั้งขนาดเล็กเป็นพวกเถ้าธุลีที่ร้อนจัด  ทั้งกรวด  ทั้งเศษหิน  ซึ่งอาจทับถมสิ่งมีชีวิตให้ล้มตายลงและกลายเป็นซากดึกดำบรรพ์ในเวลาต่อมา
             3. หินทราย (Sandstone)  เป็นหินซึ่งประกอบด้วยเม็ดทรายขนาดปานกลางถึงหยาบ ซากดึกดำบรรพ์ที่พบมักไม่ค่อยสมบูรณ์  เนื่องจากขณะตะกอนสะสมตัวนั้นกระแสน้ำค่อนข้างแรง  ทำให้ซากแตกหักได้ง่าย
             4. หินดินดาน (Shale)  เป็นหินเนื้อละเอียดมาก  มักจะมีรอยชั้นบางๆ เมื่อบิ หรือทุบจะแตกตามรอยชั้น  ขณะตะกอนเม็ดเล็กตกสะสมตัว  น้ำค่อนข้างนิ่ง  เมื่อแข็งตัวเป็นหินดินดานจึงสามารถเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ได้ค่อนข้างสมบูรณ์ทั้งตัว  และมักจะนอนราบขนานกับรอยชั้น
             5. หินโคลน (Mudstone)  เป็นหินเนื้อละเอียดมากเช่นเดียวกับหินดินดาน  แต่เมื่อทุบจะแตกเป็นก้อน  หรือบล็อกเล็กๆ  ขณะที่ตะกอนเม็ดเล็กสะสมตัวน้ำจะค่อนข้างนิ่ง เมื่อแข็งตัวเป็นหินโคลนจึงสามารถเก็บรักษาซากดึกดำบรรพ์ได้สมบูรณ์ทั้งตัว
             6.หินกรวดมน ( Conglomerate)  เป็นหินซึ่งประกอบด้วยเม็ดกรวด  ซากดึกดำบรรพ์ในหินชนิดนี้มักแตกหักเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย  เนื่องจากตะกอนสะสมตัวในกระแสน้ำค่อนข้างแรง  บางครั้งอาจรุนแรงแบบกระแสน้ำวน
7.    หินปูน (Limestone)  เป็นหินที่เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีของน้ำที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตละลายอยู่มาก  ซากดึกดำบรรพ์ที่พบมักเป็นสัตว์ทะเล  มีทั้งสภาพที่สมบูรณ์ทั้งตัวและแตกหัก  ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมขณะสะสมตัว  ถ้าคลื่นไม่แรงนักมักจะสมบูรณ์ทั้งตัว  แต่ถ้าคลื่นหรือกระแสน้ำรุนแรงมักจะให้ซากดึกดำบรรพ์ที่แตกหัก
    แร่ธาตุ
       แร่ (Mineral) คือ ธาตุแท้และสารประกอบทางเคมีที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติมีคุณสมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ที่เฉพาะตัว เช่น สี ความวาว ความแข็ง หรือความเป็นแม่เหล็ก
             สารประกอบ    มักประกอบด้วยธาตุออกซิเจน กำมะถัน หรือซิลิคอน พบมากกว่า 2,000 ชนิด ทั้งในดิน หิน น้ำ และในอากาศ โดยพบ 4 ลักษณะ คือ
      1.  สารประกอบอนินทรีย์ที่เป็นของแข็ง แร่ส่วนใหญ่จะมีลักษณะเช่นนี้
       2. สารประกอบอนินทรีย์ที่เป็นของเหลว มี 3 ชนิด คือ ปรอท โบรมีน และน้ำ
       3. สารประกอบอินทรีย์ที่เกิดจากการแปรสภาพของสิ่งมีชีวิต ได้แก่ ปิโตรเลียม และลิกไนต์
       4. ธาตุแท้ ได้แก่ ทองคำ ทองคำขาว และเงิน
                การแบ่งประเภทของแร่  จำแนกโดยยึดหลักการใช้ประโยชน์และพิจารณาสมบัติทางด้านฟิสิกส์ ทำให้สามารถจำแนกออกเป็น 3 กลุ่มใหญ่ๆ                                                                                                          
        1.  แร่โลหะ ( Metalliferous mineral)                                                                                          
        2.  แร่อโลหะ (Non - metalliferous mineral)                                                                                      
        3.  แร่พลังงาน (Energy mineral)                                                                                                         
  แร่ธาตุแต่ละกลุ่มจะมีลักษณะและชนิดของแร่ธาตุดังนี้
        1. แร่โลหะเป็นแร่ที่มีความสำคัญและมีค่ามาก มีคุณสมบัติคือมีความเหนียว แข็ง รีดหรือตีออกเป็นแผ่นและหลอมตัวได้ มีความทึบแสง เป็นตัวนำความร้อนและไฟฟ้าได้ดี เคาะมีเสียงดังกังวาน เช่น เหล็ก อะลูมิเนียม แมงกานีส แมกนีเซียม โครเมียม  ทองแดง ตะกั่ว สังกะสี นิกเกิล ทองคำ เงิน พลาตินัม วุลแฟรม ดีบุก เป็นต้น
         2. แร่อโลหะ เป็นแร่ที่มีลักษณะเปราะ แตก หรือหักง่าย โปร่งแสง ยอมให้แสงหรือรังสีผ่านได้ ไม่เป็นตัวนำความร้อนหรือไฟฟ้า เมื่อเคาะไม่มีเสียงดังกังวาน มีความสำคัญ ในการทำอุตสาหกรรมหลายชนิด เช่น อุตสาหกรรมทำปุ๋ย การก่อสร้าง เคมี เครื่องปั้นดินเผา และทำสี เป็นต้น มีหลายชนิด เช่น  ยิปซัม แบไรต์ ดินขาว  เกลือหรือแร่เกลือหิน  กำมะถัน ปูน เฟลสปาร์ ซิลิกา เพชร
            เกลือหรือแร่หินเกลือ ( Halite ) เกิดจากการตกตะกอนสะสมจากน้ำทะเลเกิดในบริเวณที่ลุ่มน้ำเค็มหรือที่ติดต่อกับทะเล หรือที่ที่เคยเป็นทะเลมาก่อน  เกลือธรรมชาติ   มีโซเดียมร้อยละ 39.3 และธาตุคลอรีนร้อยละ 60.7 แต่อาจมีแร่อื่นเจือปนอยู่บ้าง คือ แคลเซียมซัลเฟต แคลเซียมคาร์บอเนต และแมกนีเซียมคลอไรด์ แร่เกลือหินใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น เป็นวัตถุดิบในการผลิตเคมีภัณฑ์  ผลิตโซดาแอช ฟอกและย้อมหนัง ทำปุ๋ย สบู่ ถลุงแร่ เก็บรักษา  ช่วยรักษาความเย็น
          ดินขาวหรือเกาลิน ( Kaolin )   ลักษณะคล้ายดินเหนียวมีสีขาวเกิดจากการแปรสภาพเนื่องมาจากการผุสลายของหินแกรนิตที่ถูกน้ำพัดพาไปทับถมตามแหล่งน้ำ จึงรวมตัวเป็นแหล่งดินขาวเป็นจำนวนมาก ใช้ทำเครื่องปั้นดินเผาทุกชนิด ทำอิฐ กระเบื้องเคลือบ อุตสาหกรรมทำกระดาษ ยางและสี
    3. แร่พลังงาน เป็นแร่ธรรมชาติที่นำมาทำเป็นเชื้อเพลิงเพื่อก่อให้เกิดพลังงาน ได้แก่ ถ่านหิน        ( Coal ) น้ำมันดิบ (Petroleum ) ก๊าซธรรมชาติ ( Nature gas ) และแร่นิวเคลียร์ ( Nuclear )
    ถ่านหิน เป็นแร่เชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นของแข็ง มีความเปราะมีสีต่างๆ เช่น สีดำ น้ำตาล น้ำตาลแกมดำ และน้ำตาลเข้ม เกิดจากการทับถมและแปรสภาพจากพืช มี 4 ชนิด คือ
     พีท เป็นถ่านหินขั้นเริ่มแรก เนื้อยังไม่แข็ง มีความพรุน มีคาร์บอนอยู่ประมาณ 60 % ใช้เป็นเชื้อเพลิงไม่ดีนัก
      ลิกไนต์ หรือถ่านหินสีน้ำตาลไม่ค่อยแข็ง เปราะ แตกหักง่าย มีเปอร์เซนต์ความชื้น ก๊าซและเขม่าควันมาก  ลิกไนต์จะเป็นถ่านหินที่มีอายุน้อยที่สุดและมีคุณภาพต่ำสุด มีคาร์บอนน้อยคือประมาณ 65 - 70 % จึงให้ความร้อนน้อยกว่าถ่านหินชนิดอื่นเผามีควันและเถ้า
    บิทูมินัส เป็นถ่านหินที่มีสีน้ำตาลแกมดำ มีคาร์บอนอยู่ประมาณ 80 % มีคุณภาพปานกลางอยู่ระหว่างลิกไนต์และแอนทราไซต์ให้ความร้อนสูงแต่มีเขม่าควันมาก กลิ่นแรง เปลวไฟสีเหลือง เป็นถ่านหินที่ใช้กันมากในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป
  อนทราไซท์ เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพดีมาก มีสีดำ มีความแววเป็นมัน มีคาร์บอนร้อยละ 85 - 93 % ให้ความร้อนสูงสุดแต่ติดไฟยากกว่าชนิดอื่นๆ เกิดการลุกไหม้ช้าๆ และนานกว่าชนิดอื่น มีควันและ กลิ่นน้อย  เปลวไฟสีอ่อน จึงนิยมนำมาใช้ในเตาผิงในบ้านเขตอากาศหนาวเพื่อให้ความอบอุ่น
   น้ำมันดิบ เป็นแร่เชื้อเพลิงที่มีสถานะเป็นของเหลว มีองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นสารประกอบของไฮโดรเจนและคาร์บอน จึงถูกเรียกว่าเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน  ที่พบบ่อยที่สุดมีสีน้ำตาลแกมเขียว สีอื่นที่พบ เช่น สีเหลืองเข้ม น้ำตาลเกือบ
        น้ำมันดิบเกิดจากการทับถมของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ในสมัยอดีต มีหินปูน ดินเหนียว ทราย
และอื่นๆ ตกตะกอนทับถมมาเป็นชั้นๆ ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านของแรงกดดันและอุณหภูมิในชั้นหิน ทำให้เกิดการแปรสภาพทางเคมีและฟิสิกส์กลายเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอน เป็นน้ำมันดิบแทรกตัวอยู่ในเนื้อของหินดินดาน หินทรายและหินปูนที่มีเนื้อพรุน
   ก๊าซธรรมชาต เกิดเช่นเดียวกับน้ำมันและถ่านหินเป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ในสถานะของก๊าซ ส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยก๊าซมีเทน และะยังได้จากการกลั่นน้ำมันและอาจกลั่นหรือสกัด
จากขยะหรือโรงกำจัดของเสียต่างๆ

    แร่นิวเคลียรหมายถึง แร่ที่มีการแตกตัวของนิวเคลียสของธาตุซึ่งไม่เสถียร  เนื่องจากมีพลังงานส่วนเกินอยู่ภายในนิวเคลียสมากจึงต้องถ่ายเทพลังงานส่วนเกินนี้ออกมาเพื่อให้กลายเป็นอะตอมของธาตุที่เสถียร
       แร่นิวเคลียร์มี
2 ชนิดคือ
   
1. แร่กัมมันตภาพรังสี เป็นแร่ที่มีสมบัติในการปล่อยรังสีออกจากตัวเองเป็นคลื่นสั้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้แก่ ยูเรเนียม ทอเรียม
     2. แร่ที่ไม่ส่งกัมมันตภาพรังสีออกมา  ใช้ประโยชน์ในการควบคุมการแตกตัวของนิวเคลียสของแร่กัมมันตภาพรังสี ได้แก่ เมอริลและโคลัมเนียม 

ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ วัฏจักรหิน

วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ลักษณะภูมิประเทศ (Landforms) คืออะไร?

รูปภาพที่เกี่ยวข้อง

ลักษณะภูมิประเทศ หมายถึง ลักษณะของเปลือกโลกที่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปแบบต่างๆ เช่นที่ราบ เนินเขา ห้วยหนอง คลองบึง แม่น้ำ ลำธาร ทะเล ทะเลสาบ

ลักษณะภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ
1. ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎเด่นชัด (Major Landforms) หมายถึง ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปแบบต่างๆ อย่างเด่นชัด ที่สำคัญ มี 4 ชนิด ได้แก่ ที่ราบ ที่ราบสูง และภูเขา
2. ลักษณะภูมิประเทศที่ไม่ปรากฎเด่นชัด (Minor Landform) หมายถึง ลักษณะภูมิประเทศที่ปรากฎให้เห็นเป็นรูปแบบต่างๆ ที่สำคัญ รองลงมา เช่น แม่น้ำ ลำธาร ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเล


ลักษณะภูมิประเทศที่สำคัญ
ที่ราบ (plains) หมายถึง ภูมิประเทศที่เป็นที่แบนราบ ซึ่งอาจจะราบเรียบหรือมีลักษณะสูงต่ำเล็กน้อย โดยปกติความสูงของพื้นที่จะแตกต่างกันไม่เกิน 150 เมตร เช่น ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาในภาคกลาง ที่ราบโคราชในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เป็นต้น ที่ราบแบ่งออกได้เป็น 4 ชนิด ได้แก่
1) ที่ราบแบน (Flat Plains) คือ ที่ราบที่มีความสูงต่ำต่างกัน ไม่เกิน 15 เมตร
2) ที่ราบลูกฟูก (Undulating Plains) คือ ที่ราบที่มีความสูงต่ำต่างกันตั้งแต่ 15-45 เมตร
3) ที่ราบลูกระนาด (Rolling Plains) คือ ที่ราบที่มีความสูงต่ำต่างกัน ไม่เกิน 45-90 เมตร
4) ที่ราบขรุขระ (Rough Dissected Plains) คือ ที่ราบที่มีความสูงต่ำต่างกัน ตั้งแต่ 90-150 เมตร

ที่ราบสูง (plateaus) หมายถึง ภูมิประเทศที่อยู่สูงจากระดับผิวรอบตั้งแต่ 300 เมตร ขึ้นไป โดยปกติที่ราบสูงมักมีขอบสูงชันอย่างน้อย 2 ด้าน ขอบสูงชันของ ที่ราบสูงเรียกว่า ผาชัน หรือ ผาตั้ง (Escarpment)

ที่ราบสูงแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ
1) ที่ราบสูงเชิงเขา (Piedmont plateous) เป็นที่ราบสูงอยู่ระหว่างภูเขากับทะเล เช่นที่ราบสูงปาตาโกเนีย ที่ราบสูงโคโลราโด
2) ที่ราบสูงระหว่างภูเขา (Intermontane Plateaus) เป็นที่ราบสูงอยู่ระหว่างภูเขา หรือที่ราบสูงที่มีภูเขาขนาบไว้สองด้านหรือสามด้านเช่นที่ราบสูงทิเบต ที่ราบสูงอนาโตเลีย ที่ราบสูงแมกซิโก
3) ที่ราบสูงในทวีป (Continental Plateaus) เป็นที่ราบสูงที่มีที่ราบ หรือทะเลล้อมรอบ เรียกที่ราบชนิดนี้อีกอย่างหนึ่งว่าที่ราบสูงรูปโต๊ะ (Tablelands) เช่นที่ราบสูงอาหรับ ที่ราบสูงเดคคาน
เนินเขา (Hills) หมายถึง พื้นที่ที่มีระดับสูงขึ้นจากบริเวณรอบๆ แต่ไม่สูงมากเท่าภูเขา มีความแตกต่างของระดับพื้นที่ประมาณ 150-600 เมตร เช่น เขาวัง ที่จังหวัดเพชรบุรี เขาวงพระจันทร์ และเขาพระงาม จังหวัดลพบุรี เป็นต้น เนินเขาแบ่งออกเป็นประเภทใหญ่ๆได้ 2 ประเภท คือ
1) เนินเขาที่เกิดจากการสร้างของภูมิประเทศ (Structural Hills) เป็นเนินเขาที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีวิทยา ทำให้ดินมีความสูงขึ้นมีสภาพเป็นเนินเขา
2) เนินเขาที่เกิดจากการกัดกร่อนพังทลาย (Erosional Hills) เป็นพื้นที่ที่สูงมาแต่เดิมแล้วถูกกัดกร่อนผุพังจนความสูงลดลงเหลือเท่าระดับเนินเขา


รูปภาพที่เกี่ยวข้อง


ภูเขา (Mountains) หมายถึง ภูมิประเทศที่มีความสูงจากพื้นบริเวณรอบๆคล้ายเนินเขาแต่มีความแตกต่างของระดับพื้นที่ ตั้งแต่ 600 เมตรขึ้นไป เช่น ภูเขาผีปันน้ำ ภูเขาถนนธงชัย เป็นต้น
ภูเขาแบ่งตามลักษณะการเกิดได้ 5 ชนิด คือ
      1) ภูเขาโก่งตัว (Folded Mountains) เป็นภูเขาที่เกิดจากการแรงอัดในแนวขนานทำให้เปลือกโลกหดตัว หรือเกิดจากการเคลื่อนที่ของเพตลมาชนกันและดันตัวทำให้เกิดการคดงอของเปลือกโลก เช่นเทือกเขาหิมาลัย


ที่มา : http://travel.mthai.com/world-travel/37872.html

      2) ภูเขาเลื่อนตัว (Fault หรือ Block Mountains) เป็นภูเขาที่เกิดจากรอยเลื่อนระดับ ทำให้พื้นที่หนึ่งถูกยกขึ้นเป็นภูเขา หรือเกิดจากการหักตัวแล้วต่อเหลื่อม ทำให้เอียงด้านใดด้านหนึ่ง ขึ้นเป็นภูเขา ลักษณะเป็นภูเขาด้านข้างชันและยอดราบ
      3) ภูเขารูปโดม (Domed Mountains) เป็นภูเขาที่เกิดจากการดันตัวขึ้นมาของหินหนืด laccolith ขึ้นมาบนผิวโลกแต่ยังไม่ทันพ้นผิวโลกก็เย็นตัวเสียก่อน ภูเขารูปโดมจะปรากฏเมื่อหินชั้นที่เคยถูกทับถมอยู่สึกกร่อนไปหมด เช่น แบล็คฮิลส์และรัชมอร์ในประเทศสหรัฐอเมริกา


ภูเขารัชเมอร์ ที่มา: http://www.internetdict.com/th/answers/who-are-the-faces-on-mount-rushmore.html


หุบเขา หมายถึงพื้นที่ที่ต่ำระหว่างที่สูง แบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1) หุบเขาขนาน (parallel valleys) หุบเขาที่ขนานกับเทือกเขาเกิดขึ้นพร้อมๆกับภูเขานั้น

2) หุบเขาตามขวาง (lateral valleys) หุบเขาที่เชื่อมหุบเขาขนานสองแห่ง เกิดจากการกัดเซาะของแม่น้ำ ธารน้ำแข็ง อาจมีแม่น้ำไหลผ่าน



วันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2559

ลักษณะของภูมิประเทศไทย

ลักษณะภูมิประเทศ ของประเทศไทย


ลักษณะภูมิประเทศของประเทศไทย


1.เขตที่ราบภาคกลาง ที่ราบภาคกลาง ได้แก่ บริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำตอนกลางและตอนล่างทั้งหมด ซึ่งประกอบด้วยแม่น้ำเจ้าพระยาและสาขาที่ไหลมา จากที่สูงโดย รอบแล้วไหลลงสู่อ่าวไทยที่อยู่ตอนใต้ของภาค ภูมิประเทศของที่ราบภาคกลาง เป็นที่ราบดินตะกอนที่หนาและกว้างขวางมากที่สุดของประเทศ โดยเฉพาะ อย่างยิ่งที่ราบดินตะกอนตอนล่าง มีบริเวณกว้างขวางมาก แต่ในบริเวณที่ราบนี้ยังมีที่ราบลูกฟูกและภูเขาโดดเหลืออยู่ โดยเฉพาะอาจเป็นภูเขาหินที่แข็งแกร่งหรือที่เคย เป็นเกาะมาก่อน สันนิษฐานว่าพื้นที่ส่วนใหญ่ของ ที่ราบภาคกลางในอดีตเคยอยู่ใต้ระดับน้ำทะเลต่อมาระดับน้ำทะเลลดต่ำลง ประกอบกับพื้นดินยกสูงขึ้น รวมทั้งการ กระทำของแม่น้ำหลาย สายซึ่งมีทั้งการกัดเซาะ สึกกร่อนและทับถม พอกพูน จึงทำให้บริเวณนี้กลายเป็นที่ราบอันกว้างใหญ่และเป็นแหล่งเกษตรกรรมสำคัญของประเทศ

2.เขตภูเขาสูงภาคตะวันตก ลักษณะของภูมิประเทศส่วนใหญ่จะเป็นทิวเขา หุบเขา แต่ไม่มีที่ราบระหว่างภูเขาเหมือนทางภาคเหนือ และที่ราบไม่กว้างขวาง เหมือนภาคกลาง ภูมิประเทศของเขตนี้ประกอบด้วย ทิวเขาที่ยาวต่อเนื่องมาจากทิวเขาทาง ภาคเหนือลงไปจน ถึงทิวเขาในคาบสมุทรภาคใต้ เป็นทิวเขาสลับหุบเขาแคบ ๆ มีลำน้ำไหลขนานตามแนวของทิวเขาจาก บริเวณตะวันตกเฉียงเหนือมายังตะวันออกเฉียงใต้

3.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งภาคตะวันออก ลักษณะภูมิประเทศจะเป็นที่ราบลุ่มแม่น้ำทางตอนเหนือ เป็นทิวเขาและที่ราบลูกฟูกทางตอนกลางและมีที่ราบ ชายฝั่งทะเลทางใต้ โดยมีแม่น้ำสายสั้น ๆ ไหลจากทิศเหนือไปทางใต้ลงสู่อ่าวไทย ชายฝั่งทะเลของเขตนี้ เป็นชายฝั่งที่มีลักษณะเว้าแหว่งและเต็มไปด้วยเกาะใหญ่น้อย เป็นเกาะที่ปกคลุมด้วย ป่าไม้และหาดทรายสวยงาม

4.เขตที่ราบสูงภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภูมิประเทศทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีลักษณะแยก จากภาคเหนือและภาคกลางอย่างเด่นชัด ทั้งนี้เพราะ การยกตัวของแผ่นดิน ด้านตะวันตก และด้านใต้ ทำให้เกิดขอบสูงชันตามแนวเทือกเขาเพชรบูรณ์ด้านตะวันตก ส่วนทางด้านใต้ก็เป็นขอบสูงชันตามแนวทิวเขา สันกำแพง และพนมดงรัก บริเวณตอนกลางของเขตนี้มีลักษณะเป็นแอ่งคล้าย ๆ ก้นกะทะ เรียกว่า แอ่งโคราช มีแม่น้ำชีและแม่น้ำมูลไหลผ่าน ยังมีที่ราบโล่งอยู่หลายแห่ง เช่น ทุ่งกุลาร้องไห้ ทุ่งหมาหิว โดยมีแนวทิวเขาภูพานทอด โค้งยาวค่อนไปทางตะวันออกเฉียงเหนือของภาค ถัดเลยจากแนวทิวเขาภูพานไปทางเหนือมีแอ่งทรุดต่ำ ของแผ่นดินเรียกว่า แอ่งสกลนคร ส่งผลให้พื้นที่หลายแห่งได้กลายเป็นหนองน้ำ เช่น หนองหานใน จ.สกลนคร หนองประจักษ์ใน จ.อุดรธานี หนองญาติใน จ.นครพนม เป็นต้น พื้นที่ราบสูงจะยกตัวสูงทางบริเวณตะวันตกและทางใต้ และลาดเอียงไปทาง ตะวันออกเฉียงใต้ลงสู่แม่น้ำโขง แม่น้ำสำคัญที่ไหลผ่านเขตที่ราบสูง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ แม่น้ำชี แม่น้ำมูลและสาขาใหญ่น้อย ซึ่งไหลจากบริเวณตะวันตก ลงสู่ลำน้ำโขง ทางตะวันออก

5.เขตภูเขาและที่ราบชายฝั่งคาบสมุทรภาคใต้ ภูมิประเทศเขตนี้มีลักษณะเป็นคาบสมุทรแคบและยาว ถูกขนาบด้วยทะเลทั้งสองด้าน คือ อ่าวไทยทาง ด้านตะวันออกและ ทะเลอันดามันทางด้านตะวันตก ประกอบด้วยทิวเขาที่เป็นแกนของคาบสมุทรและที่ราบชายฝั่งทะเลที่ลาดลงสู่ทะเลทั้งสองด้าน โดยที่ราบด้าน ชายฝั่งตะวันออกกว้างขวาง กว่าทางฝั่งตะวันตก ชายฝั่งด้านตะวันออกเป็นชายฝั่งที่ราบเรียบและยกตัวสูง มีหาดทรายสวยงามหลายแห่ง ส่วนชายฝั่งทะเลด้าน ตะวันตกเป็นชายฝั่งทะเลจมตัว ทำให้ฝั่งทะเลขรุขระเว้า ๆ แหว่ง ๆ มีเกาะใหญ่น้อยเป็นจำนวนมาก

วันพฤหัสบดีที่ 1 ธันวาคม พ.ศ. 2559

การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

การเคลื่อนตัวของเปลือกโลก

          เปลือกโลกมิได้เป็นแผ่นเดียวต่อเนื่องติดกันดังเช่นเปลือกไข่ หากแต่เหมือนเปลือกไข่แตกร้าว มีแผ่นหลายแผ่นเรียงชิดติดกันเรียกว่า “เพลต” (Plate) ซึ่งมีอยู่ประมาณ 20 เพลต เพลตที่มีขนาดใหญ่ ได้แก่ เพลตแปซิฟิก เพลตอเมริกาเหนือ เพลตอเมริกาใต้ เพลตยูเรเซีย เพลตแอฟริกา เพลตอินโด-ออสเตรเลีย และเพลตแอนตาร์กติก เป็นต้น เพลตแปซิฟิกเป็นเพลตที่ใหญ่ที่สุดและไม่มีเปลือกทวีป กินอาณาเขตหนึ่งในสามของพื้นผิวโลก เพลตทุกเพลตเคลื่อนตัวเปลี่ยนแปลงขนาดและรูปร่างอยู่ตลอดเวลา (ดูภาพที่ 1)



ภาพที่ 1 การเคลื่อนตัวของเพลต


กระบวนการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก 
          เพลตประกอบด้วยเปลือกทวีปและเปลือกมหาสมุทรวางตัวอยู่บนแมนเทิลชั้นบนสุด ซึ่งเป็นของแข็งในชั้นลิโทสเฟียร์ ลอยอยู่บนหินหนืดร้อนในชั้นแอสทีโนสเฟียร์อีกทีหนึ่ง หินหนืด (Magma) เป็นวัสดุเนื้ออ่อนเคลื่อนที่หมุนเวียนด้วยการพาความร้อนภายในโลก คล้ายการเคลื่อนตัวของน้ำเดือดในกาต้มน้ำ การเคลื่อนตัวของวัสดุในชั้นแอสทีโนสเฟียร์ทำให้เกิดการเคลื่อนตัวเพลต (ดูภาพที่ 2) เราเรียกกระบวนการเช่นนี้ว่า “ธรณีแปรสัณฐาน”หรือ “เพลตเทคโทนิคส์” (Plate Tectonics)

ภาพที่ 2 กระบวนการธรณีแปรสัณฐาน

            การพาความร้อนจากภายในของโลกทำให้วัสดุในชั้นแอสทีโนสเฟียร์ (Convection cell) ลอยตัวดันพื้นมหาสมุทรขึ้นมากลายเป็น “สันกลางมหาสมุทร” (Mid-ocean ridge) หินหนืดร้อนหรือแมกม่าซึ่งโผล่ขึ้นมาผลักพื้นมหาสมุทรให้เคลื่อนที่ขยายตัวออกทางข้าง
            เนื่องจากเปลือกมหาสมุทรมีความหนาแน่นมากกว่าเปลือกทวีป ดังนั้นเมื่อเปลือกมหาสมุทรชนกับเปลือกทวีป เปลือกมหาสมุทรจะมุดตัวต่ำลงกลายเป็น “เหวมหาสมุทร” (Trench) และหลอมละลายในแมนเทิลอีกครั้งหนึ่ง
            มวลหินหนืดที่เกิดจากการรีไซเคิลของเปลือกมหาสมุทรที่จมตัวลง เรียกว่า “พลูตอน” (Pluton) มีความหนาแน่นน้อยกว่าเปลือกทวีป จึงลอยตัวแทรกขึ้นมาเป็นแนวภูเขาไฟ เช่น เทือกเขาแอนดีสทางฝั่งตะวันตกของทวีปอเมริกาใต้


ภาพที่ 3 รอยต่อของเพลต

รอยต่อของขอบเพลต (Plate boundaries) 
           เพลตแยกจากกัน (Divergent) เมื่อแมกม่าในชั้นแอสทีโนสเฟียร์ดันตัวขึ้น ทำให้เพลตจะขยายตัวออกจากกัน แนวเพลตแยกจากกันส่วนมากเกิดขึ้นในบริเวณสันกลางมหาสมุทร (ภาพที่ 3)
           เพลตชนกัน (Convergent) เมื่อเพลตเคลื่อนที่เข้าชนกัน เพลตที่มีความหนาแน่นสูงกว่าจะมุดตัวลงและหลอมละลายในแมนเทิล ส่วนเพลตที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าจะถูกเกยสูงขึ้นกลายเป็นเทือกเขา เช่น เทือกเขาหิมาลัย เกิดจากการชนกันของเพลตอินเดียและเพลตเอเชีย เทือกเขาแอพพาเลเชียน เกิดจากการชนกันของเพลตอเมริกาเหนือกับเพลตแอฟริกา
           รอยเลื่อน (Transform fault) เป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ มักเกิดขึ้นในบริเวณเทือกเขากลางมหาสมุทร แต่บางครั้งก็เกิดขึ้นบริเวณชายฝั่ง เช่น รอยเลื่อนแอนเดรียส์ ที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวในรัฐแคลิฟอร์เนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา เกิดจากการเคลื่อนที่สวนกันของเพลตอเมริกาเหนือและเพลตแปซิฟิก

วัฏจักรวิลสัน
          หินบนเปลือกโลกส่วนใหญ่มีอายุน้อยไม่กี่ร้อยล้านปี เมื่อเทียบกับโลกซึ่งมีอายุประมาณ 4,000 ล้านปี และเปลือกโลกก็มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา นักธรณีวิทยาชาวแคนาดาชื่อ ทูโซ วิลสัน ได้ตั้งสมมติฐานไว้ว่า เพลตขนาดใหญ่ถูกทำลายและสร้างขี้นใหม่ในลักษณะรีไซเคิลทุกๆ 500 ล้านปี เนื่องจากโลกของเรามีเส้นรอบวงยาวประมาณ 40,000 กิโลเมตร จึงคำนวณได้ว่า เพลตเคลื่อนที่ด้วยความเร็วปีละ 4 เซนติเมตร ดังนั้นเพลตสองเพลตซึ่งแยกตัวออกจากกันในซีกโลกหนึ่ง จะเคลื่อนที่ไปชนกันในซีกโลกตรงข้ามโดยใช้เวลาประมาณ 500 ล้านปี ดูรายละเอียดในภาพที่ 4

ภาพที่ 4 วัฏจักรวิลสัน
           ภาพที่ 4 ก. เพลตเกิดขึ้นใหม่จากการโผล่ขึ้นของแมกม่าในจุดร้อนใต้มหาสมุทร แมกมาดันเปลือกทวีปทั้งสองแยกจากกัน และเคลื่อนที่ไปชนเปลือกมหาสมุทรในซีกโลกฝั่งตรงข้ามซึ่งมีอุณหภูมิต่ำกว่าและจมตัวลง การชนกันทำให้มหาสมุทรทางด้านตรงข้ามมีขนาดเล็กลง
           ภาพที่ 4 ข. เปลือกทวีปชนกันทำให้เกิดทวีปขนาดยักษ์ในซีกโลกหนึ่ง และอีกซีกโลกหนึ่งกลายเป็นมหาสมุทรขนาดยักษ์เช่นกัน
           ภาพที่ 4 ค. เมื่อเวลาผ่านไปเปลือกโลกเกิดการแยกตัวเนื่องจากจุดร้อนข้างใต้ ทำให้เกิดเปลือกมหาสมุทรอันใหม่ ดันเปลือกทวีปให้แยกตัวจากกัน และเคลื่อนที่ไปชนกับเปลือกมหาสมุทรในซีกตรงข้ามที่เย็นกว่า ทำให้มหาสมุทรทางด้านตรงข้ามมีขนาดเล็กลง และในที่สุดเปลือกทวีปทั้งสองจะชนกัน เป็นอันครบกระบวนการของวัฏจักรวิลสัน



ภาพที่ 5 โลกเมื่อ 200 ล้านปีก่อน
คลิก เพื่อดูภาพเคลื่อนไหว


ทวีปในอดีต
          เมื่อมองดูแผนที่โลก หากเราตัดส่วนที่เป็นพื้นมหาสมุทรออก จะพบว่าส่วนโค้งของขอบแต่ละทวีปนั้น โค้งรับกันราวกับนำมาเลื่อนต่อกันได้เสมือนเกมส์ต่อแผนภาพ (Jigsaw หรือ puzzle) นักธรณีวิทยาพบว่า ตามบริเวณแนวรอยต่อของเพลตต่างๆ มักเป็นที่ตั้งของเทือกเขาสูงและภูเขาไฟ ทั้งบนทวีปและใต้มหาสมุทร การศึกษาการเคลื่อนที่ของเปลือกโลกด้วยทฤษฎีเพลตเทคโทนิคส์ ประกอบกับร่องรอยทางธรณีวิทยาในอดีตพบว่า เมื่อ 200 ล้านปีก่อน ทุกทวีปอยู่ชิดติดกันเป็นแผ่นดินขนาดใหญ่เรียกว่า “แพนเจีย” (Pangaea) โดยมีดินแดนทางตอนเหนือชื่อ “ลอเรเซีย” (Lawresia) และดินแดนทางใต้ชื่อ “กอนด์วานา” (Gonwana) ซึ่งแบ่งแยกด้วยทะเลเททิส ดังที่แสดงในภาพที่ 5




ภาพที่ 6 สภาพภูมิอากาศในอดีต สีเขียวคือป่าเขตร้อน สีขาวคือธารน้ำแข็ง


          ภาพที่ 6 แสดงให้เห็นว่าเมื่อ 200 ล้านปีก่อน ทางตอนใต้ของทวีปอเมริกาใต้ แอฟริกา อินเดีย ออสเตรเลีย เคยอยู่ชิดติดกับทวีปแอนตาร์กติกในบริเวณขั้วใต้ ซึ่งเป็นเขตหนาวเย็น โดยมีหลักฐานเป็นร่องรอยของธารน้ำแข็งในอดีต ในขณะที่ตอนใต้ของทวีปอเมริกาเหนือ ยุโรป และเอเชีย มีหลักฐานบ่งชี้ว่า เคยเป็นเขตร้อนแถบศูนย์สูตรมาก่อน เนื่องจากอุดมสมบูรณ์ด้วยถ่านหินและน้ำมัน ซึ่งเกิดจากการทับถมของพืชในอดีต ประกอบกับหลักฐานทางฟอสซิลในภาพที่ 7 แสดงให้เห็นว่า เมื่อครั้งก่อนแผ่นดินเหล่านี้เคยอยู่ชิดติดกัน พืชและสัตว์บางชนิดจึงแพร่ขยายพันธุ์บนดินแดนเหล่านี้ในอดีต



ภาพที่ 7 การแพร่พันธุ์ของสัตว์ในอดีต

ปรากฎการณ์ที่ส่งผลต่อลักษณะภูมิประเทศ





วันพุธที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

แผ่นดินไหว คืออะไร By Kru P'max

แผ่นดินไหว (Earthquakes)





       แผ่นดินไหว หมายถึง การสั่นสะเทือนของพื้นดิน ซึ่งมีสาเหตุมาจากการเคลื่อนที่อย่างฉับพลันของเปลือกโลก เนื่องจาก พลังงานความร้อนภายในโลก ทําให้เกิดแรงเครียด แรงเครียดที่สะสมอยู่ในโลก ทําให้เกิดการแตกหักของหิน เมื่อหินแตกออกเป็นแนวจะเกิดเป็นรอยเลื่อน และการเคลื่อนที่อย่างฉับพลันของรอยเลื่อนนี้ เป็นสาเหตุหลักของการเกิดแผ่นดินไหว




       แผ่นดินไหวนอกจากจะเกิดจากปรากฏการณ์ธรรมชาติแล้ว ยังเป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากมนุษย์ ซึ่งทําให้สภาพสมดุลของเปลือกโลกบางส่วนเปลี่ยนไป และไปกระตุ้นให้เกิดอาการดังกล่าว แต่จะมีความรุนแรงน้อยกว่าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ แผ่นดินไหวอาจเกิดจากภูเขาไฟระเบิด เหมืองถล่ม หรือการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ใต้ดิน เป็นต้น

การวัดขนาดและความรุนแรงของแผ่นดินไหว

      ขนาดแผ่นดินไหว คือ การวัดจำนวนหรือพลังงานซึ่งปลดปล่อยออกมาที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหว ซึ่งสามารถคำนวณได้จากการติดตามลักษณะของคลึ่นแผ่นดินไหวโดยเครื่องวัดแผ่นดินไหว mujคิดค้นโดยผู้เชี่ยวชาญด้านแผ่นดินไหวชาวเยอรมันชื่อซีเอฟ ริคเตอร์ (C.F. Richter) เราจึงใช้หน่วยของขนาดแผ่นดินไหวว่า "มาตราริคเตอร์" ซึ่งมีขนาดตั้งแต่ 1.0 (รุนแรงน้อย) ถึง 9.0 (รุนแรงมาก)


     ความรุนแรงของแผ่นดินไหว วัดได้โดยใช้ความรู้สึกว่ามีการสั่นสะเทือนมากน้อยเพียงใด เหตุแผ่นดินไหวที่มีขนาดเดียวกันอาจมีความรุนแรงในแต่ละแห่งไม่เท่ากันตาม "มาตราเมอร์แคลลี" ซึ่งวัดความเข้มของความรุนแรงในการสั่น ณ ที่ใดที่หนึ่งซึ่งจะออกมาในลักษณะความรุนแรงของการสั่นที่มนุษย์รู้สึกได้ว่ามากน้อยแค่ไหนหรือความเสียหายของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ มีมากแค่ไหน ตามขนาดตั้งแต่ 1 ถึง 12

มาตรการป้องกันและบรรเทาภัยจากแผ่นดินไหว
ก่อนเกิดแผ่นดินไหว 1. ระดับหน่วยงาน

- สนับสนุนให้มีการตรวจสภาพของอาคารสาธารณะ โรงเรียน โรงพยาบาล หากไม่แข็งแรงให้มีการเสริมความแข็งแรง

- สนับสนุนให้มีการออกกฎหมายควบคุมการก่อสร้างอาคารให้สามารถต้านทานแรงแผ่นดินไหว

- ซักซ้อมและเตรียมตัวรับภัยแผ่นดินไหว


2. ระดับบุคคล

2.1 หัวหน้าครอบครัวหรือเจ้าของบ้าน

- ตรวจสภาพความปลอดภัยของบ้านและเครื่องใช้ภายในบ้าน ทำการยึดอุปกรณ์ที่อาจก่อให้เกิดอันตราย เช่น ตู้และชั้นหนังสือ ยึดติดกับฝาบ้านหรือเสา

- ซักซ้อมความพร้อมของสมาชิกในครอบครัว โดยกำหนดวิธีปฏิบัติตนในยามเกิดแผ่นดินไหว และกำหนดจุดนัดพบที่ปลอดภัยนอกบ้านไว้ล่วงหน้า

- สอนสมาชิกในครอบครัวให้รู้จักตัดไฟ ปิดวาล์วน้ำและถังแก๊ส

- แนะนำสมาชิกในครอบครัวให้เรียนรู้วิธีการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

2.2 สมาชิกในครอบครัว

- ควรมีไฟฉายพร้อมถ่านไฟฉาย และกระเป๋ายาเตรียมไว้ในบ้าน และให้ทุกคนทราบว่าอยู่ที่ไหน

- ศึกษาการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

- ควรมีเครื่องมือดับเพลิงไว้ในบ้าน เช่น เครื่องดับเพลิง ถุงทราย เป็นต้น

- ควรทราบตำแหน่งของวาล์วปิดน้ำ วาล์วปิดก๊าซ สะพานไฟฟ้า สำหรับตัดกระแสไฟฟ้า

- อย่าวางสิ่งของหนักบนชั้น หรือหิ้งสูง ๆ เมื่อแผ่นดินไหวอาจตกลงมาเป็นอันตรายได้

- ผูกเครื่องใช้หนัก ๆ ให้แน่นกับพื้นผนังบ้าน

- ควรมีการวางแผนเรื่องจุดนัดหมายในกรณีที่ต้องพลัดพรากจากกัน เพื่อมารวมกันอีกครั้งในภายหลัง

- สร้างอาคารบ้านเรือนให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ที่กำหนด สำหรับพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหว


ระหว่างเกิดแผ่นดินไหว

       ก่อนอื่นอย่าตกใจ และพยายามปลอบคนข้างเคียงให้อยู่ในความสงบ และคิดถึงวิธีการที่จะกู้้สถานการณ์ และผลที่คาดว่าจะได้รับ

1. ถ้าอยู่ในอาคารให้ระวังสิ่งของที่อยู่สูงตกใส่ เช่น โคมไฟ ชิ้นส่วนอาคาร เศษอิฐ เศษปูนที่แตกออกจากเพดาร ให้ระวังตู้หนังสือ ตู้โชว์ ชั้นวางของ และเฟอร์นิเจอร์อื่นๆ เลื่อนชนหรือล้มทับ ให้ออกห่างงจากประตู หน้าต่าง และ กระจก ถ้าการสั่นไหวรุนแรงให้หลบอยู่ใต้โต๊ะ ใต้เตียง หรือมุมห้อง อย่าวิ่งออกมานอกอาคาร

2. ถ้าอยู่ในอาคารสูงให้หลบอยู่ใต้โต๊ะ อย่าใช้ลิฟท์

3. ถ้าอยู่นอกอาคารให้ออกห่างงจากอาคารสูง กําแพง เสาไฟฟ้า และสิ่งก่อสร้างอื่นๆ ถ้าอยู่ในรถให้หยุดรถในที่ซึ่งปลอดภัยที่สุด

วิธีปฏิบัติตนและป้องกันตนเอง
1. อย่าตื่นตกใจ พยายามควบคุมสติอยู่อย่างสงบสุข ถ้าท่านอยู่ในบ้าน ถ้าท่านอยู่นอกบ้านก็ให้ส่วนใหญ่ได้รับบาดเจ็บเพราะวิ่งเข้าออกจากบ้าน

2. ถ้าอยู่ในบ้านให้ยืนหรือหมอบอยู่ในส่วนของบ้านที่มีโครงสร้างแข็งแรง ที่สามารถรับน้ำหนักได้มากและระเบียบและหน้าต่าง

3. หากอยู่ในอาคารสูง ควรตั้งสติให้มั่น และรีบออกจากอาคารโดยเร็ว หนีให้ห่างงจากสิ่งที่จะล้มทับได้

4. ถ้าอยู่ในที่โล่งแจ้ง ให้อยู่ห่างงจากเสาไฟฟ้าและสิ่งห้อยแขวนต่าง ๆ ที่ปลอดภัยภายนอก คือ ที่โล่งแจ้ง

5. อย่าใช้เทียน ไม้ขีดไฟ หรือสิ่งที่ทำให้เกิดเปลวหรือประกายไฟ เพราะอาจมีแก๊สรั่วอยู่บริเวณนั้น

6. ถ้าท่านกำลังขับรถให้หยุดรถและอยู่ภายในรถ จนกระทั่งการสั่นสะเทือนจะหยุด

7. ห้ามใช้ลิฟท์โดยเด็ดขาดขณะเกิดแผ่นดินไหว

8. หากอยู่ชายหาดให้อยู่ห่างงจากชายฝั่ง เพราะอาจเกิดคลื่นขนาดใหญ่ซัดเข้าหาฝั่ง


หลังเกิดแผ่นดินไหว

1. ควรตรวจตัวเองและคนข้างเคียงว่าได้รับบาดเจ็บหรือไม่ ให้ทำการปฐมพยาบาลขั้นต้นก่อน

2. ควรรีบออกจากอาคารที่เสียหายทันที เพราะหากเกิดแผ่นดินไหวตามมาอาคารอาจพังทลายได้

3. ใส่รองเท้าหุ้มส้นเสมอ เพราะอาจมีเศษแก้ว หรือวัสดุแหลมคมอื่น ๆ และสิ่งหักพังแทง

4. ตรวจสายไฟ ท่อน้ำ ท่อแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วให้ปิดวาล์วถังแก๊ส ยกสะพานไฟ อย่าจุดไม้ขีดไฟหรือก่อไฟจนกว่าจะแน่ใจว่าไม่มีแก๊สรั่ว

5. ตรวจสอบว่าแก๊สรั่ว ด้วยการดมกลิ่นเท่านั้น ถ้าได้กลิ่นให้เปิดประตูหน้าต่างทุกบาน

6. ให้ออกจากบริเวณที่สายไฟขาด และวัสดุสายไฟพาดถึง

7. เปิดวิทยุฟังคำแนะนำฉุกเฉิน อย่าใช้โทรศัพท์ นอกจากจำเป็นจริง ๆ

8. สำรวจดูความเสียหายของท่อส้วม และท่อน้ำทิ้งก่อนใช้

9. อย่าเป็นไทยมุงหรือเข้าไปในเขตที่มีความเสียหายสูง หรืออาคารพัง

10. อย่าแพร่ข่าวลือ